Wednesday, October 17, 2018

# Soy wax วัตถุดิบสำหรับทำเทียนจากพืช

http://soybeanwaxcandles.blogspot.com/2010/09/why-soy-wax.html

การใช้ไขถั่วเหลืองทำเทียนเนื่องจาก ผลเสียของการใช้เทียนที่ทำจากพาราฟินที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีการวิเคราะห์ว่าในเทียนทำจากพาราฟินมี สารประกอบอันเป็นสาเหตุก่อมะเร็งถึง 11 ชนิด (Carcinogenic Compounds)  โดยถูกระบุว่าเป็นสารพิษในอากาศ ( Toxic Air Agent ) ชนิดเดียวที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดีเซล

ประโยชน์การใช้ไขถั่วเหลืองแทนพาราฟิน

-ไม่เป็นคราบเปรอะ
คราบน้ำตาเทียนสามารถทำความสะอาดได้โดยง่ายไม่ติดแน่นทำให้เครื่องเรือนเสียหาย

-เผาไหม้ที่อุณหภูมิต่ำ
น้ำตาเทียนไม่ร้อนเท่าพาราฟิน จึงปลอดภัยจากการใช้มากกว่า

-กลิ่นที่ดีกว่า 
เพราะเนื้อเทียนที่ละเอียดข้นจึงทำให้การเก็บกลิ่นจากสารเติมเพื่อให้กลิ่นหอมได้ดี และการเผาไหม้อุณหภูมิต่ำจึงสามารถเติมน้ำมันหอมระเหยหรือกลิ่นหอมอื่นๆได้โดยไม่ระเหยไปก่อนที่เนื้อเทียนจะแข็งตัว เมื่อจุดจึงให้กลิ่นที่หอมกระจายมากกว่า

-เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ไม่มีควัน จึงไม่เพิ่มมลภาวะ อีกทั้งเนื้อเทียนเองยังสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ

-ปลูกทดแทนและยั่งยืน
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสามารถปลูกทดแทน หมุนเวียนได้ จึงไม่มีผลกระทบกับระบบนิเวศน์

เมื่อเราใช้ไขถั่วเหลืองแทนพาราฟิน ก็เป็นการช่วยลดมลภาวะ และที่สำคัญปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้เอง

# พาราฟิน วัตถุดิบทำเทียนจากปิโตรเลียม

ที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/พาราฟิน


พาราฟิน หรือ เคโรซีน เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปิซึ่งกลั่นแยกออกจากน้ำมันดิบ จุดหลอมเหลว
ประมาณ 47-64 องศาเซลเซียส จุดเดือดประมาณ 150-275 องศาเซลเซียส ไม่ละลายในน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย และ มีหลายสถานะด้วยกัน 

การใช้งาน หรือ ประโยชน์ตามสถานะ)

  • แก๊ส
    • ใช้เป็นเชื้อเพลิง
  • ของเหลว
    • ใช้เป็นเชื้อเพลิง
    • ใช้เป็นยารักษาโรค
    • ใช้ในการทำครัว
  • ของแข็ง (ในรูปขี้ผึ้ง)
    • ใช้ผลิตเทียน
    • ใช้เคลือบกระดาษบางชนิด
    • ใช้เคลือบเสื้อผ้า
    • ใช้เป็นส่วนผสมทำยาหม่อง
    • ใช้ทาปาก-ผิว เพื่อลดความหยาบกร้าน (เพิ่มความชุ่มชื้น

 

พาราฟิน แว็กซ์

พาราฟิน แว็กซ์ (Paraffin wax) คือ เป็นชื่อสามัญของแว็กซ์ที่เป็นสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน เป็นแว็กซ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มปิโตรเลียมแว็กซ์ (Petroleum wax) โดยมีสูตรโครงสร้างทางเคมี คือ CnH2n+2 จำนวนคาร์บอนในห่วงโซ่โมเลกุล 19-36 อะตอม (C19-C36) มีลักษณะเป็นของแข็ง มีสีเหลืองอ่อนถึงขาว มีจุดหลอมเหลว อยู่ที่ระหว่าง 48-68 องศาเซลเซียส

คุณสมบัติทางเคมีของพาราฟิน แว็กซ์

  • ลักษณะ/รูปร่าง แบบแผ่น/แบบเม็ด
  • สี ขาว
  • ค่าพีเฮช ความเป็นกรด/เบส 5.8-6.3
  • ปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ (%ของน้ำหนักแว็กซ์) 0.1%-5%
  • กลิ่น เล็กน้อย
  • ค่าความถ่วงจำเพาะ (กรัม ต่อลบ.ซม.) 0.82-0.92
  • จุดหลอมเหลว (องศาเซลเซียส) 48-68
  • จุดเริ่มกลับแข็งตัว (วุ้น) (องศาเซลเซียส) 66-69
  • จุดวาบไฟ (องศาเซลเซียส) 204-271
  • จุดเริ่มติดไฟ (องศาเซลเซียส) 238-263
  • จุดเดือด (องศาเซลเซียส) 350-430
  • ค่าความหนืดที่ 100 องศาเซลเซียส (เซนติสโตก) 3.1-7.1
  • จำนวนคาร์บอนในห่วงโซ่โมเลกุล - 9-36
  • ค่าความอ่อนแข็งที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส 20 max/ค่าสูงสุด

การจำแนกประเภท

พาราฟิน แว็กซ์ แบ่งเกรดโดยการใช้ปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ (Oil Content) โดยแบ่งออกได้เป็น 3 เกรด ดังนี้

  1. พาราฟิน แว็กซ์ ฟูลลี่ รีไฟน์ (Paraffin wax Fully refined) จะมีค่าของปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ ตั้งแต่ 0.1% - 0.5%ของน้ำหนักพาราฟิน แว็กซ์ (%wt)
  2. พาราฟิน แว็กซ์ เซมิ รีไฟน์ (Paraffin wax Semi refined) จะมีค่าของปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ ตั้งแต่ 0.5% -1.5% ของน้ำหนักพาราฟิน แว็กซ์ (%wt)
  3. พาราฟิน แว็กซ์ เซมิ รีไฟน์ (Paraffin wax Semi refined) หรือ สแลค แว็กซ์ (Slack wax) จะมีค่าของปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ ตั้งแต่ 3 % - 5% ของน้ำหนักพาราฟิน แว็กซ์ (%wt)
พาราฟิน แว็กซ์ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. พาราฟิน แว็กซ์แบบแผ่น (Slab form)
  2. พาราฟิน แว็กซ์แบบเม็ด (Granule form)

กระบวนการผลิตพาราฟิน แว็กซ์

พาราฟิน แว็กซ์ เป็นแว็กซ์ที่ได้มาจากกากส่วนที่เหลือ ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ โดยกระบวนการกลั่นน้ำมันแบบหอกลั่นลำดับส่วน ไขหรือกากแว็กซ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นนี้ เรียกว่า สแลค แว็กซ์ (Slack wax) ซึ่งยังมีปริมาณน้ำมันในแว็กซ์สูง นำสแลค แว็กซ์ ที่ได้ มาผ่านกระบวนการการสกัดน้ำมันออกจากแว็กซ์ เพื่อให้ได้พาราฟิน แว็กซ์ ที่มีปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ตามค่ามาตรฐานของพาราฟิน แว็กซ์ที่สามารถนำมาใช้ทำเทียนและใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ 

********************************************************************
 

http://www.most.go.th/main/th/155-knowledge/word-science-day/2899-paraffin-wax
 
ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียม ซึ่งจะได้สารเคมีในกลุ่ม Alkane Hydrocarbon โดยมีสูตรโครงสร้างคือ CnH2n+2 มีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายขี้ผึ้ง มีจุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ไม่ละลายน้ำ แต่สามารถละลายได้ใน Ether, Benzene และ Ester บางชนิด ซึ่งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี 

ปกติขี้ผึ้งพาราฟินจะไม่นำมาใช้สัมผัสกับอาหารโดยตรง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการกระจายของสารเข้าสู่อาหาร และเมื่อได้รับอาหารที่มีการปนเปื้อนสารดังกล่าวสะสมในปริมาณมากอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกายได้ 

มีการนำขี้ผึ้งพาราฟินไปใช้เคลือบภาชนะบรรจุหลายชนิด, การผลิตเทียน และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น

Saturday, October 6, 2018

# การเลือกน้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดตามราศีเกิด

1. ราศีเมษ (เกิดระหว่างวันที่ 13 เม.ย. – 14 พ.ค.)
โรคควรระวัง : โรคความดันโลหิตสูง ปวดศรีษะ เครียด โรคประสาท
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ควรใช้ลาเวนเดอร์ หรือเจอราเนียม ผสมกับส้ม ซีดาร์วู๊ด เพื่อปรับความสมดุลของความดันโลหิต ใช้แฝกหอม ผสมกับส้ม แฟรงคินเซ้นท์ หรือกำยานเพื่อความผ่อนคลาย สงบระงับ

2. ราศีพฤษภ (เกิดระหว่างวันที่ 15 พ.ค. – 14 มิ.ย.)
โรคควรระวัง : โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด ไอ
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ควรใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับกำยาน ยูคาลิปตัส เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ

3. ราศีเมถุน (เกิดระหว่างวันที่ 15 มิ.ย. – 15 ก.ค.)
โรคควรระวัง : โรคเกี่ยวกับทรวงอก ปอด โรคเครียด อัมพาต

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับกำยาน เบอร์กาม็อท ส้ม หรือยูคาลิปตัส เพื่อแก้ปัญหาระบบทางเดินหายใจ และเพื่อลดความเครียด ทำให้จิตใจสงบ

4. ราศีกรกฎ (เกิดระหว่างวันที่ 16 ก.ค. – 16 ส.ค.)
โรคควรระวัง : โรคระบบทางเดินอาหาร ไต โรคผิวหนัง ผื่นคัน

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับแพ็ทชูลี่ ขิงหรือเปปเปอร์มินท์ เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินอาหาร ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับกำยาน ทีทรี เพื่อแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน

5. ราศีสิงห์ (เกิดระหว่างวันที่ 17 ส.ค. – 16 ก.ย.)
โรคควรระวัง : โรคเกี่ยวกับหลัง ปวดหลัง กระดูกสันหลัง ซี่โครง หัวใจ

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้แฝกหอม ผสมกับลาเวนเดอร์ ตะไคร้หอม หรือยูคาลิปตัส เพื่อแก้โรคปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ

6. ราศีกันย์ (เกิดระหว่างวันที่ 17 ก.ย. – 16 ต.ค.)
โรคควรระวัง : โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร มดลูก

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้แพ็ทชูลี่ ผสมกับกระดังงา ขิง เปปเปอร์มินท์ หรือส้ม เพื่อช่วยแก้โรคระบบทางเดินอาหาร

7. ราศีตุลย์ (เกิดระหว่างวันที่ 17 ต.ค. – 15 พ.ย.)
โรคควรระวัง : โรคปวดเอว ปวดหลัง โรคในช่องท้อง คิดมาก

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ตะไคร้หอม ผสมกับโรสแมรี่ ซีดาร์วู๊ด เพื่อลดอาการปวดเอว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และใช้เจอราเนียม ผสมกับกำยาน ส้ม หรือเบอร์กาม็อท เพื่อการผ่อนคลาย

8. ราศีพิจิก (เกิดระหว่างวันที่ 16 พ.ย. – 15 ธ.ค.)
โรคควรระวัง : โรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์ โรคผิวหนัง เครียด

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ลาเวนเดอร์หรือโรสแมรี่ ผสมกับ แฟรงคินเซ้นส์ ยูคาลิปตัส หรือทีทรี เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์และโรคผิวหนัง ใช้กำยาน ผสมกับส้ม เบอร์กาม็อท เพื่อคลายเครียด

9. ราศีธนู (เกิดระหว่างวันที่ 16 ธ.ค. – 14 ม.ค.)
โรคควรระวัง : โรคกระดูก กล้ามเนื้อขา เส้นเลือดขอด ภูมิแพ้

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้กำยาน เจอราเนียมผสมกับโรสแมรี่ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต แก้เส้นเลือดขอด ใช้ทีทรี ผสมกับลาเวนเดอร์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

10. ราศีมังกร (เกิดระหว่างวันที่ 15 ม.ค. – 12 ก.พ.)
โรคควรระวัง : โรคกระดูกและข้อ โรคภูมิแพ้

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้กำยาน ผสมกับยูคาลิปตัส เพื่อแก้อาการปวดเมื่อย ใช้ทีทรี ผสมกับโรสแมรี่ ลาเวนเดอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ฆ่าเชื้อ

11. ราศีกุมภ์ (เกิดระหว่างวันที่ 13 ก.พ. – 14 มี.ค.)
โรคควรระวัง : โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ตะคริว กระเพาะ ลำไส้

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้แฝกหอม ผสมกับเจอราเนียม กำยาน เพื่อแก้ปัญหาระบบหมุนเวียนของโลหิต และใช้ขิง เปปเปอร์มินท์ ผสมกับลาเวนเดอร์ แพ็ทชูลี่ เพื่อแก้โรคกระเพาะ

12. ราศีมีน (เกิดระหว่างวันที่ 15 มี.ค. – 12 เม.ย.)
โรคควรระวัง : โรคระบบทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง

น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้โรสแมรี่ ผสมกับเปปเปอร์มินท์ แพ็ทชูลี่ หรือขิง เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินอาหาร ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับทีทรี แฟรงคินเซ้นส์ เพื่อแก้โรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อ


ขอบคุณ  :  http://www.banhonethai.com

*** กลิ่นเลือกกลิ่นน้ำมันหอมระเหยกับธาตุเกิด

ธาตุดิน (ได้แก่ ราศี มังกร พฤษภ กันย์)

ลักษณะนิสัย: เป็นคนมีความหนักแน่น อดทน ไม่ชอบการโยกย้าย ชอบที่จะลงมือทำมากกว่าที่จะ
ออกคำสั่ง คนธาตุนี้มักจะเกิดความเครียดได้มากกว่าธาตุอื่นๆ กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ

กลิ่นแนว ผ่อนคลาย อย่าง
Lavender,
Basil และ
กระดังงา
จะช่วยให้นอนหลับง่าย และคลายเครียดได้ดี

ธาตุน้ำ (ได้แก่ ราศี มีน กรกฏ พิจิก)

ลักษณะนิสัย: คนธาตุน้ำเป็นคนคร่องแคล่วว่องไว ทำอะไรเร็ว และคิดเร็ว บางครั้งอ่อนไหว บางทีดูเหมือนว่าเป็นคนโลเลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คนธาตุนี้มีจินตนาการสูง คิดนู่น คิดนี่อยู่เรื่อยๆ คนธาตุนี้มีหลากหลายอารมณ์ และค่อนข้างซับซ้อน เหมือนน้ำ ที่อาจดูนิ่งๆ แต่มีความอ่อนไหว คนธาตุนี้มีความเป็นศิลปินสูง

กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ กลิ่นที่ช่วยให้เกิดสมดุลย์ทางอารมณ์ อย่าง
Bergamot,
Sandalwood ช่วยให้เกิดสมาธิ
Rosemary
ถ้าต้องการผ่อนคลายในอารมณ์ความ เครียดก็สามารถใช้ Lavender ร่วมด้วยได้


ธาตุลม (ได้แก่ ราศี กุมภ์ เมถุน ตุลย์)

ลักษณะนิสัย: มีนิสัยร่าเริง เข้ากับคนง่าย รักการผจญภัย ชอบทำเรื่องท้าทาย นิสัยที่เด่นคือ ชอบสื่อสารกับผู้คน สนใจสารทุกข์สุขดิบของผู้คนรอบข้าง มันเป็นที่รักของคนรอบข้าง แต่บางครั้งก็เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย

กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ กลิ่นเย็นๆ ที่ทำให้สดชื่น อย่าง
Menthol
Lavender ผ่อนคลายอารมณ์
Sandalwood ช่วยให้จิตใจสงบ และ
Chamomile ช่วยให้ อารมณ์ผ่อนคลาย หลับสบาย และบรรเทาความว้าวุ่น



ธาตุไฟ (ได้แก่ ราศี เมษ สิงห์ ธนู)

ลักษณะนิสัย: เป็นคนใจร้อน บางครั้งดูหงุดหงิด ชอบการแข่งขัน ชอบกิจกรรมโลดโผน วู่วาม มีความเป็นผู้นำสูง มีความทะเยอทะยานและรักความก้าวหน้า

กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ กลิ่นของดอกไม้ เช่น
ดอกมะลิ
กระดังงา
Lavender
ให้ความรู้สึกสดชื่นผ่อนคลาย เย็นสบาย ช่วยให้ใจเย็นขึ้นได้



ขอบคุณ http://horoscope.sanook.com/playfortune/playfortune_01529.php