น้ำปรุงเป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่ง
ที่มีกลิ่นหอมเย็นให้ความรู้สึกแบบไทย ๆ ชวนให้รำลึกถึงอดีตที่น่าภูมิใจว่า
สตรีในสมัยโบราณนอกจากจะมีการประแป้งแต่งตัว ลูบตัวด้วยน้ำอบน้ำปรุงแต่มาบัดนี้ สตรีส่วนใหญ่รู้จักแต่น้ำหอม
ออดิโคโลญจน์ มาแทน
เครื่องปรุง
2. พิมเสนเกล็ดอย่างดี . ช้อนชา
3. ใบเนียม 20 ใบ
หรือใบเตยหอม 10 ใบ
ต้นเนียม
4. ดอกมะลิ กระดังงา พิกุล หรือดอกไม้หอม อื่น ๆ
5. เอธิลแอลกอฮอล์แปรสภาพ 1
ปอนด์
6. น้ำสะอาดต้มแล้ว 3 ออนซ์
7. เทียนอบ
8. ตัวดับกลิ่นแอลกอฮอล์ . ออนซ์
9. กำยาน . ช้อนชา
เครื่องใช้
1. ขวดโหลหรือโถกระเบื้องปากกว้าง สำหรับอบดอกไม้ 1 ใบ
2. ขวดแก้วใบใหญ่ สำหรับปรุง 1 ใบ
3. ขวดแก้วทรงกระบอก 1 ใบ
สำหรับแช่ใบเนียมหรือใบเตย
4. กรวย
5. ถ้วยตวง
6. กระดาษกรอง
วิธีทำ
1. นำตัวดับกลิ่นแอลกอฮอล์แปรสภาพ 1 ปอนด์ เขย่าให้เข้ากันพักไว้ประมาณ 3 วัน
2. น้ำสะอาดต้มเดือดแล้วทิ้งไว้ให้เย็น 3 ออนซ์ อบด้วยดอกไม้หอมไว้ 1 คืน และอบด้วยควันเทียน 3 ครั้ง
ครั้งละ 30 นาที
3. ใบเนียมหรือใบเตยหอมตัดเป็นท่อน ๆ
ใส่ขวดทรงกระบอก ใส่เอธิลแอลกอฮอล์พอท่วมแช่นานประมาณ 30-50 นาที
จนเป็นสีเขียวจัด
4. พิมเสนเกล็ด . ช้อนชา แช่เอธิลแอลกอฮอล์ประมาณ 1
. ออนซ์ พยายามเขย่าให้ละลาย
5. นำหัวน้ำหอมแต่ละชนิดแช่กับเอธิลแอลกอฮอล์ 1
. ออนซ์ ชนิดละขวด
6. นำข้อ 3-5
มาผสมกันในขวดใบใหญ่ปากเล็ก ๆ เพื่อให้เครื่องปรุงต่าง ๆ ผสมกันมากๆ ยิ่งดี
สำหรับการปรุงครั้งแรกจะมีสีใบเตยหรือใบเนียมมาก ๆ ยิ่งดี เพราะเก็บไว้นาน ๆ สีจะจางไปเองก่อนจะผสมน้ำที่อบด้วยดอกไม้หอมให้ลองดมดู
ว่าต้องการกลิ่นไหนเพิ่ม
ให้เติมกลิ่นที่ต้องการเขย่าให้เข้ากันดีแล้วจึงค่อย ๆ เติมน้ำทีละ 1 ออนซ์ เขย่าให้เข้ากันมาก ๆ จนน้ำที่เติมหมด
วิธีนี้จะทำให้น้ำปรุงไม่ขุ่นหลังจากนั้น นำไปเก็บไว้ประมาณ 3 วัน
จึงนำมากรองด้วยกระดาษกรอง และกรวยแก้ว ข้อควรระวัง ควรเก็บ
ในที่เย็น ไม่โดนแดดส่อง
ประโยชน์
ใช้ทาตัวให้หอม ใช้ฉีดถุงบุหงาของชำร่วย ผ้าเช็ดหน้า ผ้าแพรเพลาะ ถ้าทำเป็นจำนวนมากก็ให้เพิ่มไปตามสูตรนี้
ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วิทยาเขตวังไกลกังวล
http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf
No comments:
Post a Comment