น้ำอบไทย



## น้ำอบไทยดอกไม้สด ## 



น้ำอบไทยเป็นเครื่องหอมที่สำคัญที่สุด ในกระบวนการทำเครื่องหอม เพราะน้ำอบไทยมี ประโยชน์หลายอย่างอย่าง ใช้ผสมทำแป้งร่ำ ทำกระแจะเจิมหน้า ผสมกับดินสอพองแป้งหินแป้งร่ำทาตัวยามร้อน แก้ผดผื่นคัน และทำให้หอมชื่นใจ ผสมทำบุหงาสด สรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่ และใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้ตามประสงค์


เครื่องใช้
1. ขวดโหล
2. โถกระเบื้องสำหรับอบร่ำ
3. โกร่ง สำหรับบดเครื่องปรุง
4. ทวน ใช้วางกลางโถกระเบื้องเพื่อรองรับตะคัน
5. ตะคัน ใช้เผาไฟวางบนทวน สำหรับใส่เครื่องปรุงกำยาน
6. ผ้าขาวบาง
7. กระบวยสำหรับตักน้ำอบ
8. คีมคีบถ่าน
9. เตาอั้งโล่
10. หม้อเคลือบ ใช้ต้มน้ำหรืออาจใช้สำหรับอบร่ำก็ได้
11. เทียนอบ

เครื่องปรุง
1. ใบเตยหอม 8 ใบ
2. ชะลูด 1 กำมือ
3. แก่นจันทน์เทศ 1 กำมือ
4. ขี้ผึ้งแท้ . ช้อนโต๊ะ
5. น้ำตาลทรายแดง . ช้อนโต๊ะ
6. น้ำตาลทรายขาว . ช้อนโต๊ะ
7. พิมเสนอย่างดี . ช้อนชา
8. แป้งหินหรือแป้งนวล 5 ถ้วยตวง
9. ดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอม เช่น มะลิ กุหลาบมอญ กระดังงา จำปา ชำมะนาด จันทน์กะพ้อ ลำดวน พุทธชาด ดอกส้ม สารภี พิกุล ลำเจียก เทียนกิ่ง หรือดอกไม้หอมที่พอจะหาได้ 2-3 อย่างก็ได้
10. ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้ว ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว
11. หัวน้ำหอมกลิ่นต่าง ๆ จำนวน 1 ออนซ์ เช่น กลิ่นกุหลาบ กระดังงา มะลิ ลำเจียกพิกุล ชำมะนาด จันทน์กะพ้อและไฮซิน ไฮซินคือช่วยน้ำอบไทยหอมยิ่งขึ้น (หรืออาจเลือกกลิ่นตามตามใจชอบ) ต้องการให้กลิ่นไหนนำ ก็ใส่กลิ่นนั้นมากกว่ากลิ่นอื่น ๆ
12. ผิวมะกรูดป่น . ช้อนโต๊ะ
13. จันทน์เทศป่นหยาบ 5 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1.ก. วิธีชงน้ำอบ
ต้มน้ำให้เดือด โดยใช้น้ำ 3 ลิตร ต่อใบเตย 5 ใบ ตัดเป็นท่อน ๆ ชะลูด 1 กำมือ จันทน์เทศสับ 1 กำมือ กระดังงาไทย 7-8 ดอก ชงทิ้งไว้สักครู่ ประมาณ 15-20 นาที กรองด้วยผ้าขาวบางที่ซักสะอาดและแห้ง เปิดฝาปล่อยให้เย็น (ควรใช้น้ำฝนจะดีกว่าน้ำประปา)

1.ข. วิธีต้มน้ำอบ
ถ้าทำน้ำอบไทยเป็นจำนวนมาก ควรใช้วิธีต้มจะสะดวกกว่า น้ำ 10-12 ลิตร ชะลูด 2 กำมือ จันทน์เทศสับ 1 กำมือ นำไปตั้งไฟให้เดือด ลดไฟให้เดือด ลดไฟลง ต้มรุม ๆ แล้วใส่ใบเตยตัดท่อนประมาณ 8 ใบ กระดังงาไทย 7-8 ดอก ดูว่าสีของน้ำต้มได้สีเหลืองเข้ม ถ้าต้องการให้สีเข้มอีกให้ต้มต่อไปจนได้สีตามต้องการแล้วดับไฟพักไว้ประมาณ 15-30 นาที หรือพออุ่นกรองด้วยผ้าขาวบางที่แห้ง แล้วปล่อยให้เย็น วิธีนี้สีของน้ำอบไทยจะเข้มข้นและมีกลิ่นหอมซึมเข้าไปในเนื้อน้ำดีกว่าวิธีแรก

 2. อบดอกไม้
 พอค่ำเมื่อน้ำเย็นแล้ว ให้นำน้ำที่เตรียมไว้แบ่งออกเป็นหลาย ๆ โถ (ถ้าไม่มีโถจะใช้หม้อเคลือบแทนก็ได้) ใส่น้ำให้น้อย เพื่อต้องการอบน้ำหอมให้ทั่วกัน ก่อนอบดอกไม้ต้องวางภาชนะไว้บนที่เรียบและอยู่กับที่ให้น้ำนิ่งเสียก่อนจึงค่อยลอยดอกไม้ ตืดไม่ต้องการให้น้ำกระเทือนเพราะอาจทำให้ดอกไม้ช้ำได้

การอบดอกไม้ควรอบในเวลาค่ำ ประมาณ 19.00 นาฬิกา เพราะดอกมะลิเริ่มแย้มบานค่อย ๆ ปลิดก้านออกวางเบา ๆ บนน้ำที่เตรียมไว้ ดอกลำเจียกฉีกเป็นฝอย ดอกจำปา ต้องปลิดเป็นกลีบ ๆ กระดังงาไทย รวมกลีบดอกนำตรงกระเปาะลนควันเทียนแล้วฉีกตามกลีบสัก 2 หรือ 3 เส้น ฉีกตามยาว กุหลาบมอญ ปลิดใช้แต่กลีบเช่นกัน ดอกพิกุล และดอกไม้กลีบบาง ต้องใส่ภาชนะเล็ก ๆ หรือจอกลอยบนน้ำ กันไม่ให้กลีบช้ำตกลงไปในน้ำ ในปัจจุบันดอกไม้ส่วนใหญ่จะซื้อจากตลาด เพื่อความปลอดภัย ควรนำดอกไม้ทั้งหมดใส่ภาชนะเล็ก ๆ ลอยบนน้ำ เพราะเกรงว่ายาฆ่าแมลงที่ติดอยู่กับกลีบดอกไม้จะละลายน้ำ นอกจากดอกไม้ดังกล่าว ท่านจะใส่ดอกไม้อื่นได้ตามต้องการที่มีกลิ่นหอมเย็น แต่ถ้าดอกไม้ไม่ได้จะใช้มะลิ กระดังงา จำปา และพิกุล ก็เพียงพอแล้ว ดอกไม้ทุกชนิดที่หาได้วางลอยบนน้ำเบามือ ปิดฝาให้สนิท 1 คืนรุ่งเช้าราว 4-5 นาฬิกาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นให้ช้อนดอกไม้ที่ลอยไว้อย่างเบามือ สำหรับผู้ที่ลอยดอกไม้บนน้ำ ถ้าเก็บช้ากว่านี้ ดอกไม้จะเริ่มช้ำ จะทำให้กลิ่นของน้ำอบเสีย นำน้ำอบดอกไม้ไว้กรองด้วยผ้าขาวบางรวมกัน

3. ร่ำน้ำอบ การร่ำน้ำอบจะต้องเตรียมเครื่องปรุงดังนี้ 

เครื่องปรุง
1. กำยานป่น 2 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำตาลทรายแดง . ช้อนโต๊ะ
3. น้ำตาลทรายขาว . ช้อนโต๊ะ
4. แก่นจันทน์เทศ 5 ช้อนโต๊ะ
5. ขี้ผึ้งอย่างดีขูด . ช้อนโต๊ะ
6. ผิวมะกรูด . ช้อนโต๊ะ
7. น้ำมันจันทน์ 2-3 หยด
 ผสมข้อ 1-7 ให้เข้ากัน 

 การร่ำจะต้องใช้โถกระเบื้อง หรือหม้อเคลือบไม่ควรใช้โหลแก้ว อาจร้อนทำให้โหลแก้วแตกได้ ตักน้ำอบดอกไม้ใส่โถกระเบื้องประมาณ . ของโถ หรือ ใส่แต่น้อย เพื่อให้น้ำหอมทั่วกัน นำทวนตรงกลางโถ เอาตะคันเผาไฟให้ร้อน อย่าให้ร้อนจนแดง เพราะจะทำให้เครื่องปรุงไหม้ การปิด-เปิด ขณะทำการร่ำต้องทำโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ควันออกมา เมื่อนำตะคันวางบนทวนแล้ว นำเครื่องปรุงใส่ครั้งละครึ่งช้อนชารีบปิดฝาโถโดยเร็วถ้าปิดฝาโถไม่สนิท ให้ใช้ผ้าคลุมทับไว้ ปิดไว้ประมาณ 3-5 นาที ไม่ต้องให้ควันหมด เปิดฝาโถ รีบเอาตะคันเก่าออก รีบใส่ตะคันใหม่ แล้วตักเครื่องปรุงกำยานใส่อีก ทำอย่างนี้ประมาณ 5 ครั้ง แต่ละครั้งเมื่อนำตะคันออก ควรกวนน้ำทุกครั้ง เพื่อความให้ความหอมที่จับอยู่บนผิวหน้าซึมซับเข้าไปในน้ำให้ทั่ว ร่ำครบ 5 ครั้งแล้วเทน้ำออกไว้ แล้วทำใหม่จนหมดน้ำ น้ำที่ร่ำนี้จะอุ่น บางครั้งไม่สามารถอบเทียนต่อได้เลยทำให้ย่นระยะเวลาการทำน้ำอบไทย แต่ถ้าน้ำร้อน ต้องปล่อยไว้ให้เย็น แล้วตกค่ำอบด้วยดอกไม้ใช้วิธีเดียวกับข้อ 2 การร่ำกำยานแต่ละครั้งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ตั้งเช่น จะต้องร่ำกำยาน 5 ตั้ง เป็นต้น 

4. การอบดอกไม้คืนที่ 2 ใช้วิธีการอบ เช่นเดียวกับการอบดอกไม้ข้อ 2

5. วิธีอบด้วยควันเทียน


เช้าวันที่ 3 ช้อนดอกไม้ออกหมดแล้ว และอบควันเทียนจะใช้เทียนอบวางบนทวน หรือติดที่ฝาโถกระเบื้อง จุดเทียนอบและดับเทียนอบ โดยใช้พัดโบกให้เปลวเทียนอบดับปิดฝาให้สนิท การอบเทียนอบหลาย ๆ ครั้ง ไส้จะดำไหม้ จะต้องตัดไส้เทียนที่ไหม้ออกก่อน ถ้าปล่อยให้ไส้เทียนไหม้น้ำอบไทยจะมีกลิ่นไหม้ด้วย การอบควันเทียนครั้งหนึ่งควรจะกวนน้ำให้ความหอมที่จับบนผิวหน้าผสมกับน้ำภายในโถกระเบื้อง อบควันเทียนประมาณ 3 ครั้ง ๆ ละ 15-20 นาที

5. ปรุงน้ำอบ
 เมื่ออบและร่ำน้ำจนหอมมากแล้ว จะต้องนำน้ำนั้นมาปรุงด้วยพิมเสน ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้วและหัวน้ำหอมกลิ่นต่าง ๆ นำพิมเสนอย่างดีบดให้ละเอียด ใส่แป้วร่ำ หรือแป้งหินบดให้เข้ากัน(การใส่แป้งร่ำนี้ ถ้าทำเป็นจำนวนมาก อาจใช้แป้งหินผสม ในการบดกับหัวน้ำหอมแทนได้) ใส่ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้ว แล้วใส่หัวน้ำหอมกลิ่นต่าง ๆ ประมาณ 2-3 หยด ต่อน้ำ 1 ถ้วย บดให้เข้ากันกับแป้ง ตักน้ำอบใส่โกรงกวนค่อย ๆ ให้เหลวพอกรองได้เทลงไปบนผ้าขาวบาง ถ้าส่วนผสมน้ำมันกับน้ำยังไม่เข้ากันดี ยังมีน้ำมันลอยให้เติมแป้งหินแล้วบดให้เข้ากัน นำไปกรองผสมในน้ำอบที่เตรียมไว้ ต้องกวนน้ำที่ผสมเครื่องปรุงไว้บ่อย ๆ เพื่อให้เข้ากันแล้วทดลองนำมาทาดูและดมกลิ่นตามใจชอบ ถ้าเติมหัวน้ำหอมจะต้องบดกับแป้งร่ำหรือแป้งหินเสียก่อน ถ้าหยดลงไปในน้ำเลยทีเดียวจะไม่เข้ากัน หัวน้ำหอมจะลอยบนน้ำ แป้งร่ำ แป้งหิน ใส่พอควร ใส่มากน้ำจะข้น ก่อนจะกรอกใส่ขวดต้องกวนน้ำบ่อย ๆ เพื่อให้แป้ง หัวน้ำหอมเข้ากันได้ดี ขวดน้ำที่จะนำมาใส่น้ำอบไทย จะต้องล้างให้สะอาดและแห้งเสียก่อน ในบางครั้งอาจอบควันเทียนในขวดไว้ก็ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำอบเหม็นสาปเร็วโดยการจุดเทียนอบแล้วดับ ควันเทียนจะลอย ให้นำปากขวดไว้ตรงควันเทียน ควันเทียนจะลอยให้นำปากขวดไว้ตรงกลางเทียนควันเทียนจะลอยเข้าไปในขวดนั้น ในกรณีที่ทำจำนวนน้อย ๆ 



## น้ำอบไทยไม่ใช้ดอกไม้สด##
น้ำอบไทยไม่ใช้ดอกไม้ ในปัจจุบันนี้ผู้ปรุงน้ำอบไทยโดยทั่วไปมักใช้วิธีนี้ เพราะดอกไม้หอมนับวันจะหายากขึ้น และทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย จึงขอเสนอวิธีการทำน้ำอบไทย
ไม่ใช้ดอกไม้

เครื่องใช้
1. ขวดโหล
2. โถกระเบื้องสำหรับอบร่ำ
3. โกร่ง สำหรับบดเครื่องปรุง
4. ทวน ใช้วางกลางโถกระเบื้องเพื่อรองรับตะคัน
5. ตะคัน ใช้เผาไฟวางบนทวน สำหรับใส่เครื่องปรุงกำยาน
6. ผ้าขาวบาง
7. กระบวยสำหรับตักน้ำอบ
8. คีมคีบถ่าน
9. เตาอั้งโล่
10. หม้อเคลือบ ใช้ต้มน้ำหรืออาจใช้สำหรับอบร่ำก็ได้
11. เทียนอบ
เครื่องปรุง
1. ใบเตยหอม 8 ใบ
2. ชะลูด 1 กำมือ
3. แก่นจันทน์เทศ 1 กำมือ
4. ขี้ผึ้งแท้ . ช้อนโต๊ะ
5. น้ำตาลทรายแดง . ช้อนโต๊ะ
6. น้ำตาลทรายขาว . ช้อนโต๊ะ
7. พิมเสนอย่างดี . ช้อนชา
8. แป้งหินหรือแป้งนวล 5 ถ้วยตวง
9. ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้ว เท่าเม็ดถั่วเขียว
10. หัวน้ำหอมกลิ่นต่าง ๆ เช่น กลิ่นกุหลาบ มะลิ พิกุล ไฮซิน จันทน์กะพ้อ ลำเจียกกระดังงา หรืออาจเลือกกลิ่นที่แตกต่างจากนี้ หรือเพิ่มมากขึ้นหรือลดลงก็ได้ สำหรับกลิ่นไฮซินต้องใส่เสมอไป เพราะเป็นกลิ่นที่ร่วมผสมผสานให้กลิ่นน้ำอบไทยหอมยิ่งขึ้นหรือถ้าผู้ปรุงต้องการให้กลิ่นไหนนำก็ให้ใส่กลิ่นนั้นเพิ่มมากกว่ากลิ่นอื่น ๆ
11. แก่นจันทน์เทศป่นหยาบ 5 ช้อนโต๊ะ
12. ผิวมะกรูดป่น . ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. ต้มน้ำ 10-12 ลิตร ใส่ชลูด 2 กำมือ จันทน์เทศสับ 1 กำมือ ต้มให้เดือดแล้วราไฟหรือลดไฟให้อ่อนลง แล้วใส่ใบเตยหอมตัดเป็นท่อนประมาณ 8 ใบแล้วต้มต่อไปประมาณ 15 นาที จะได้น้ำสีเหลืองเข้มยกพักไว้ประมาณ 30 นาที ตั้งจนกว่าจะอุ่นหรือกรองด้วยผ้าขาวบางที่แห้งสนิท พักทิ้งไว้ให้เย็น 

2. อบควันเทียน หลังจากน้ำเย็นแล้วแบ่งน้ำใส่ภาชนะหลาย ๆ ที่ ให้แต่ละที่มีน้ำประมาณ 1/3 ของภาชนะ อบด้วยควันเทียน ประมาณ 5 ครั้ง ๆ ละ 15-20 นาทีการอบแต่ละครั้ง เมื่อเปิดฝาโถหรือภาชนะ จะต้องกวนน้ำ เพื่อให้ความหอมที่จะอยู่ผิวหน้า ซึมซับและผสมกับน้ำที่อยู่ส่วนล่าง หรือถ้ามีภาชนะไม่มาก ให้ใช้วิธีอบควันเทียนในหม้อใหญ่ที่ใช้ต้ม แล้วค่อยตักน้ำ แบ่งมาร่ำกำยาน แล้วเทใส่อีก 1 หม้อ แล้วอบควันเทียนอีก จะทำให้เพิ่มความหอมในน้ำได้เช่นกันและไม่ต้องใช้ภาชนะหลายใบ

3. ร่ำน้ำอบ การร่ำน้ำอบต้องเตรียมเครื่องปรุงดังนี้

เครื่องปรุง
1. กำยานป่น 2 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำตาลทรายแดง . ช้อนโต๊ะ
3. น้ำตาลทรายขาว . ช้อนโต๊ะ
4. แก่นจันทน์เทศป่นหยาบ 5 ช้อนโต๊ะ
5. ขี้ผึ้งอย่างดีขูด . ช้อนโต๊ะ
6. ผิวมะกรูดป่น . ช้อนโต๊ะ

การที่จะอบร่ำจะต้องใช้ โถกระเบื้องหรือหม้อเคลือบ เพราะถ้าใช้ขวดโหลแก้ว อาจร้อนจัดทำให้แก้วแตกร้าวได้ ตักน้ำอบดอกไม้ใส่ในโถกระเบื้องประมาณ . ของโถ หรือใส่แต่น้อย เพื่อให้น้ำหอมทั่วกัน นำทวนตั้งตรงกลางโถ เอาตะคันเผาไฟให้ร้อนอย่าให้ร้อนจนแดง เพราะจะทำให้เครื่องปรุงไหม้การปิด-เปิดขณะทำการร่ำ ต้องทำโดนเร็ว เพื่อไม่ให้ควันออกมา เมื่อนำตะคันวางบนทวนแล้วนำเครื่องปรุงใส่ครั้งละครึ่งช้อนชา แล้วรีบปิดฝาโถโดยเร็ว ถ้าฝาโถไม่สนิท ให้ใช้ผ้าคลุมทับไว้ ปิดไว้ประมาณ 3-5 นาที ไม่ต้องถึงควันหมดก็เปิดฝาโถ รีบเอาตะคันออก เปลี่ยนตะคันใหม่ใส่แล้วตักเครื่องปรุงกำยานใส่อีก ทำอย่างนี้ประมาณ 5 ครั้ง แล้วเทน้ำออกใส่โถพักไว้ แล้วทำใหม่จนหมดน้ำ น้ำที่ร่ำนี้จะอุ่นบางครั้งไม่สามารถอบเทียนต่อได้ ถ้าน้ำเย็นแล้วจึงอบควันเทียนต่อได้ ก็จะย่นเวลาการทำน้ำอบไทยการร่ำกำยานแต่ละครั้งอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ ตั้งเช่นจะต้องร่ำกำยาน 5 ตั้งเป็นต้น


4. ปรุงน้ำอบ
เมื่ออบน้ำด้วยเทียนอบจนน้ำหอมมากแล้ว จะต้องมีการปรุงด้วยพิมเสน ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้วและหัวน้ำหอมกลิ่นต่าง ๆ นำพิมเสนอย่างดีบดให้ละเอียด ใส่แป้งร่ำบดให้เข้ากัน (การใส่แป้งร่ำนี้ถ้าทำเป็นจำนวนมาก อาจใช้แป้งหินผสมในการบดกับหัวน้ำหอมได้) ใส่ชะมดเช็ดที่ฆ่าแล้ว ใส่หัวน้ำหอมกลิ่นต่าง ๆ ประมาณ 2-3 หยด ต่อน้ำ 1 ถ้วยบดให้เข้ากันกับแป้ง ตักน้ำอบใส่โกร่งกวนค่อย ๆ ให้เหลวพอกรองได้ เทลงไปบนผ้าขาวบาง ถ้าบดแล้วส่วนผสมน้ำมันกับน้ำยังไม่เข้ากันดียังมีน้ำมันลอยให้เติมแป้งหินแล้วบดให้เข้ากัน นำไปกรองไปผสมกับน้ำอบที่เตรียมไว้ ต้องกวนน้ำที่ผสมเครื่องปรุงไว้บ่อย ๆ เพื่อให้เข้ากันแล้วทดลองนำมาทาดู และดมดูกลิ่นตามใจชอบ ถ้าจะเติมหัวน้ำหอม จะต้องบดกับแป้งร่ำหรือแป้งหินเสียก่อน ถ้าหยดลงไปในน้ำเลยทีเดียว จะไม่เข้ากัน หัวน้ำหอมจะลอยบนน้ำ แป้งร่ำแป้งหินใส่พอควรใส่มากจะข้น ก่อนจะกรอกใส่ขวดต้องกวนน้ำบ่อย ๆ เพื่อให้แป้ง หัวน้ำหอม น้ำ เข้ากันดี ขวดที่จะนำมาใส่น้ำอบไทย จะต้องล้างให้สะอาด และแห้งเสียก่อน บางครั้งอาจอบควันเทียนไว้ในขวดก็ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำอบไทยเหม็นสาปเร็ว โดยการจุดเทียนอบควันจะลอยให้นำปากขวดไว้ตรงควันเทียน ควันเทียนจะลอยเข้าไปในขวดนั้น ในกรณีที่ทำจำนวนน้อย ๆ


ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf


No comments:

Post a Comment