http://soybeanwaxcandles.blogspot.com/2010/09/why-soy-wax.html
การใช้ไขถั่วเหลืองทำเทียนเนื่องจาก
ผลเสียของการใช้เทียนที่ทำจากพาราฟินที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
มีการวิเคราะห์ว่าในเทียนทำจากพาราฟินมี สารประกอบอันเป็นสาเหตุก่อมะเร็งถึง 11 ชนิด (Carcinogenic Compounds) โดยถูกระบุว่าเป็นสารพิษในอากาศ ( Toxic Air Agent ) ชนิดเดียวที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงดีเซล
ประโยชน์การใช้ไขถั่วเหลืองแทนพาราฟิน
-ไม่เป็นคราบเปรอะ
คราบน้ำตาเทียนสามารถทำความสะอาดได้โดยง่ายไม่ติดแน่นทำให้เครื่องเรือนเสียหาย
-เผาไหม้ที่อุณหภูมิต่ำ
น้ำตาเทียนไม่ร้อนเท่าพาราฟิน จึงปลอดภัยจากการใช้มากกว่า
-กลิ่นที่ดีกว่า
เพราะเนื้อเทียนที่ละเอียดข้นจึงทำให้การเก็บกลิ่นจากสารเติมเพื่อให้กลิ่นหอมได้ดี
และการเผาไหม้อุณหภูมิต่ำจึงสามารถเติมน้ำมันหอมระเหยหรือกลิ่นหอมอื่นๆได้โดยไม่ระเหยไปก่อนที่เนื้อเทียนจะแข็งตัว
เมื่อจุดจึงให้กลิ่นที่หอมกระจายมากกว่า
-เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ไม่มีควัน จึงไม่เพิ่มมลภาวะ อีกทั้งเนื้อเทียนเองยังสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ
-ปลูกทดแทนและยั่งยืน
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสามารถปลูกทดแทน หมุนเวียนได้ จึงไม่มีผลกระทบกับระบบนิเวศน์
เมื่อเราใช้ไขถั่วเหลืองแทนพาราฟิน ก็เป็นการช่วยลดมลภาวะ และที่สำคัญปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้เอง
ละมุน จะพยายามรวบรวมเรื่องราวของกลิ่นหอม จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเป็นความรู้สำหรับตนเองและผู้สนใจ
Wednesday, October 17, 2018
# พาราฟิน วัตถุดิบทำเทียนจากปิโตรเลียม
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/พาราฟิน
พาราฟิน หรือ เคโรซีน เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปิซึ่งกลั่นแยกออกจากน้ำมันดิบ จุดหลอมเหลว
ประมาณ 47-64 องศาเซลเซียส จุดเดือดประมาณ 150-275 องศาเซลเซียส ไม่ละลายในน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย และ มีหลายสถานะด้วยกัน
********************************************************************
http://www.most.go.th/main/th/155-knowledge/word-science-day/2899-paraffin-wax
ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียม ซึ่งจะได้สารเคมีในกลุ่ม Alkane Hydrocarbon โดยมีสูตรโครงสร้างคือ CnH2n+2 มีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายขี้ผึ้ง มีจุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ไม่ละลายน้ำ แต่สามารถละลายได้ใน Ether, Benzene และ Ester บางชนิด ซึ่งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี
ปกติขี้ผึ้งพาราฟินจะไม่นำมาใช้สัมผัสกับอาหารโดยตรง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการกระจายของสารเข้าสู่อาหาร และเมื่อได้รับอาหารที่มีการปนเปื้อนสารดังกล่าวสะสมในปริมาณมากอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกายได้
มีการนำขี้ผึ้งพาราฟินไปใช้เคลือบภาชนะบรรจุหลายชนิด, การผลิตเทียน และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น
พาราฟิน หรือ เคโรซีน เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปิซึ่งกลั่นแยกออกจากน้ำมันดิบ จุดหลอมเหลว
ประมาณ 47-64 องศาเซลเซียส จุดเดือดประมาณ 150-275 องศาเซลเซียส ไม่ละลายในน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย และ มีหลายสถานะด้วยกัน
การใช้งาน หรือ ประโยชน์ตามสถานะ)
- แก๊ส
- ใช้เป็นเชื้อเพลิง
- ของเหลว
- ใช้เป็นเชื้อเพลิง
- ใช้เป็นยารักษาโรค
- ใช้ในการทำครัว
- ของแข็ง (ในรูปขี้ผึ้ง)
- ใช้ผลิตเทียน
- ใช้เคลือบกระดาษบางชนิด
- ใช้เคลือบเสื้อผ้า
- ใช้เป็นส่วนผสมทำยาหม่อง
- ใช้ทาปาก-ผิว เพื่อลดความหยาบกร้าน (เพิ่มความชุ่มชื้น
พาราฟิน แว็กซ์
พาราฟิน แว็กซ์ (Paraffin wax) คือ เป็นชื่อสามัญของแว็กซ์ที่เป็นสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน เป็นแว็กซ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มปิโตรเลียมแว็กซ์ (Petroleum wax) โดยมีสูตรโครงสร้างทางเคมี คือ CnH2n+2 จำนวนคาร์บอนในห่วงโซ่โมเลกุล 19-36 อะตอม (C19-C36) มีลักษณะเป็นของแข็ง มีสีเหลืองอ่อนถึงขาว มีจุดหลอมเหลว อยู่ที่ระหว่าง 48-68 องศาเซลเซียสคุณสมบัติทางเคมีของพาราฟิน แว็กซ์
- ลักษณะ/รูปร่าง แบบแผ่น/แบบเม็ด
- สี ขาว
- ค่าพีเฮช ความเป็นกรด/เบส 5.8-6.3
- ปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ (%ของน้ำหนักแว็กซ์) 0.1%-5%
- กลิ่น เล็กน้อย
- ค่าความถ่วงจำเพาะ (กรัม ต่อลบ.ซม.) 0.82-0.92
- จุดหลอมเหลว (องศาเซลเซียส) 48-68
- จุดเริ่มกลับแข็งตัว (วุ้น) (องศาเซลเซียส) 66-69
- จุดวาบไฟ (องศาเซลเซียส) 204-271
- จุดเริ่มติดไฟ (องศาเซลเซียส) 238-263
- จุดเดือด (องศาเซลเซียส) 350-430
- ค่าความหนืดที่ 100 องศาเซลเซียส (เซนติสโตก) 3.1-7.1
- จำนวนคาร์บอนในห่วงโซ่โมเลกุล - 9-36
- ค่าความอ่อนแข็งที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส 20 max/ค่าสูงสุด
การจำแนกประเภท
พาราฟิน แว็กซ์ แบ่งเกรดโดยการใช้ปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ (Oil Content) โดยแบ่งออกได้เป็น 3 เกรด ดังนี้- พาราฟิน แว็กซ์ ฟูลลี่ รีไฟน์ (Paraffin wax Fully refined) จะมีค่าของปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ ตั้งแต่ 0.1% - 0.5%ของน้ำหนักพาราฟิน แว็กซ์ (%wt)
- พาราฟิน แว็กซ์ เซมิ รีไฟน์ (Paraffin wax Semi refined) จะมีค่าของปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ ตั้งแต่ 0.5% -1.5% ของน้ำหนักพาราฟิน แว็กซ์ (%wt)
- พาราฟิน แว็กซ์ เซมิ รีไฟน์ (Paraffin wax Semi refined) หรือ สแลค แว็กซ์ (Slack wax) จะมีค่าของปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ ตั้งแต่ 3 % - 5% ของน้ำหนักพาราฟิน แว็กซ์ (%wt)
- พาราฟิน แว็กซ์แบบแผ่น (Slab form)
- พาราฟิน แว็กซ์แบบเม็ด (Granule form)
กระบวนการผลิตพาราฟิน แว็กซ์
พาราฟิน แว็กซ์ เป็นแว็กซ์ที่ได้มาจากกากส่วนที่เหลือ ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ โดยกระบวนการกลั่นน้ำมันแบบหอกลั่นลำดับส่วน ไขหรือกากแว็กซ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นนี้ เรียกว่า สแลค แว็กซ์ (Slack wax) ซึ่งยังมีปริมาณน้ำมันในแว็กซ์สูง นำสแลค แว็กซ์ ที่ได้ มาผ่านกระบวนการการสกัดน้ำมันออกจากแว็กซ์ เพื่อให้ได้พาราฟิน แว็กซ์ ที่มีปริมาณน้ำมันในแว็กซ์ตามค่ามาตรฐานของพาราฟิน แว็กซ์ที่สามารถนำมาใช้ทำเทียนและใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ********************************************************************
http://www.most.go.th/main/th/155-knowledge/word-science-day/2899-paraffin-wax
ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียม ซึ่งจะได้สารเคมีในกลุ่ม Alkane Hydrocarbon โดยมีสูตรโครงสร้างคือ CnH2n+2 มีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายขี้ผึ้ง มีจุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ไม่ละลายน้ำ แต่สามารถละลายได้ใน Ether, Benzene และ Ester บางชนิด ซึ่งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี
ปกติขี้ผึ้งพาราฟินจะไม่นำมาใช้สัมผัสกับอาหารโดยตรง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการกระจายของสารเข้าสู่อาหาร และเมื่อได้รับอาหารที่มีการปนเปื้อนสารดังกล่าวสะสมในปริมาณมากอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อร่างกายได้
มีการนำขี้ผึ้งพาราฟินไปใช้เคลือบภาชนะบรรจุหลายชนิด, การผลิตเทียน และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น
Saturday, October 6, 2018
# การเลือกน้ำมันหอมระเหยเพื่อการบำบัดตามราศีเกิด
1. ราศีเมษ (เกิดระหว่างวันที่ 13 เม.ย. 14 พ.ค.)
โรคควรระวัง : โรคความดันโลหิตสูง ปวดศรีษะ เครียด โรคประสาท
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ควรใช้ลาเวนเดอร์ หรือเจอราเนียม ผสมกับส้ม ซีดาร์วู๊ด เพื่อปรับความสมดุลของความดันโลหิต ใช้แฝกหอม ผสมกับส้ม แฟรงคินเซ้นท์ หรือกำยานเพื่อความผ่อนคลาย สงบระงับ
2. ราศีพฤษภ (เกิดระหว่างวันที่ 15 พ.ค. 14 มิ.ย.)
โรคควรระวัง : โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด ไอ
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ควรใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับกำยาน ยูคาลิปตัส เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ
3. ราศีเมถุน (เกิดระหว่างวันที่ 15 มิ.ย. 15 ก.ค.)
โรคควรระวัง : โรคเกี่ยวกับทรวงอก ปอด โรคเครียด อัมพาต
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับกำยาน เบอร์กาม็อท ส้ม หรือยูคาลิปตัส เพื่อแก้ปัญหาระบบทางเดินหายใจ และเพื่อลดความเครียด ทำให้จิตใจสงบ
4. ราศีกรกฎ (เกิดระหว่างวันที่ 16 ก.ค. 16 ส.ค.)
โรคควรระวัง : โรคระบบทางเดินอาหาร ไต โรคผิวหนัง ผื่นคัน
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับแพ็ทชูลี่ ขิงหรือเปปเปอร์มินท์ เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินอาหาร ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับกำยาน ทีทรี เพื่อแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
5. ราศีสิงห์ (เกิดระหว่างวันที่ 17 ส.ค. 16 ก.ย.)
โรคควรระวัง : โรคเกี่ยวกับหลัง ปวดหลัง กระดูกสันหลัง ซี่โครง หัวใจ
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้แฝกหอม ผสมกับลาเวนเดอร์ ตะไคร้หอม หรือยูคาลิปตัส เพื่อแก้โรคปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ
6. ราศีกันย์ (เกิดระหว่างวันที่ 17 ก.ย. 16 ต.ค.)
โรคควรระวัง : โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร มดลูก
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้แพ็ทชูลี่ ผสมกับกระดังงา ขิง เปปเปอร์มินท์ หรือส้ม เพื่อช่วยแก้โรคระบบทางเดินอาหาร
7. ราศีตุลย์ (เกิดระหว่างวันที่ 17 ต.ค. 15 พ.ย.)
โรคควรระวัง : โรคปวดเอว ปวดหลัง โรคในช่องท้อง คิดมาก
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ตะไคร้หอม ผสมกับโรสแมรี่ ซีดาร์วู๊ด เพื่อลดอาการปวดเอว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และใช้เจอราเนียม ผสมกับกำยาน ส้ม หรือเบอร์กาม็อท เพื่อการผ่อนคลาย
8. ราศีพิจิก (เกิดระหว่างวันที่ 16 พ.ย. 15 ธ.ค.)
โรคควรระวัง : โรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์ โรคผิวหนัง เครียด
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ลาเวนเดอร์หรือโรสแมรี่ ผสมกับ แฟรงคินเซ้นส์ ยูคาลิปตัส หรือทีทรี เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์และโรคผิวหนัง ใช้กำยาน ผสมกับส้ม เบอร์กาม็อท เพื่อคลายเครียด
9. ราศีธนู (เกิดระหว่างวันที่ 16 ธ.ค. 14 ม.ค.)
โรคควรระวัง : โรคกระดูก กล้ามเนื้อขา เส้นเลือดขอด ภูมิแพ้
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้กำยาน เจอราเนียมผสมกับโรสแมรี่ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต แก้เส้นเลือดขอด ใช้ทีทรี ผสมกับลาเวนเดอร์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
10. ราศีมังกร (เกิดระหว่างวันที่ 15 ม.ค. 12 ก.พ.)
โรคควรระวัง : โรคกระดูกและข้อ โรคภูมิแพ้
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้กำยาน ผสมกับยูคาลิปตัส เพื่อแก้อาการปวดเมื่อย ใช้ทีทรี ผสมกับโรสแมรี่ ลาเวนเดอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ฆ่าเชื้อ
11. ราศีกุมภ์ (เกิดระหว่างวันที่ 13 ก.พ. 14 มี.ค.)
โรคควรระวัง : โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ตะคริว กระเพาะ ลำไส้
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้แฝกหอม ผสมกับเจอราเนียม กำยาน เพื่อแก้ปัญหาระบบหมุนเวียนของโลหิต และใช้ขิง เปปเปอร์มินท์ ผสมกับลาเวนเดอร์ แพ็ทชูลี่ เพื่อแก้โรคกระเพาะ
12. ราศีมีน (เกิดระหว่างวันที่ 15 มี.ค. 12 เม.ย.)
โรคควรระวัง : โรคระบบทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้โรสแมรี่ ผสมกับเปปเปอร์มินท์ แพ็ทชูลี่ หรือขิง เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินอาหาร ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับทีทรี แฟรงคินเซ้นส์ เพื่อแก้โรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อ
ขอบคุณ : http://www.banhonethai.com
โรคควรระวัง : โรคความดันโลหิตสูง ปวดศรีษะ เครียด โรคประสาท
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ควรใช้ลาเวนเดอร์ หรือเจอราเนียม ผสมกับส้ม ซีดาร์วู๊ด เพื่อปรับความสมดุลของความดันโลหิต ใช้แฝกหอม ผสมกับส้ม แฟรงคินเซ้นท์ หรือกำยานเพื่อความผ่อนคลาย สงบระงับ
2. ราศีพฤษภ (เกิดระหว่างวันที่ 15 พ.ค. 14 มิ.ย.)
โรคควรระวัง : โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด ไอ
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ควรใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับกำยาน ยูคาลิปตัส เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ
3. ราศีเมถุน (เกิดระหว่างวันที่ 15 มิ.ย. 15 ก.ค.)
โรคควรระวัง : โรคเกี่ยวกับทรวงอก ปอด โรคเครียด อัมพาต
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับกำยาน เบอร์กาม็อท ส้ม หรือยูคาลิปตัส เพื่อแก้ปัญหาระบบทางเดินหายใจ และเพื่อลดความเครียด ทำให้จิตใจสงบ
4. ราศีกรกฎ (เกิดระหว่างวันที่ 16 ก.ค. 16 ส.ค.)
โรคควรระวัง : โรคระบบทางเดินอาหาร ไต โรคผิวหนัง ผื่นคัน
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับแพ็ทชูลี่ ขิงหรือเปปเปอร์มินท์ เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินอาหาร ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับกำยาน ทีทรี เพื่อแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน
5. ราศีสิงห์ (เกิดระหว่างวันที่ 17 ส.ค. 16 ก.ย.)
โรคควรระวัง : โรคเกี่ยวกับหลัง ปวดหลัง กระดูกสันหลัง ซี่โครง หัวใจ
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้แฝกหอม ผสมกับลาเวนเดอร์ ตะไคร้หอม หรือยูคาลิปตัส เพื่อแก้โรคปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ
6. ราศีกันย์ (เกิดระหว่างวันที่ 17 ก.ย. 16 ต.ค.)
โรคควรระวัง : โรคในช่องท้อง โรคระบบทางเดินอาหาร มดลูก
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้แพ็ทชูลี่ ผสมกับกระดังงา ขิง เปปเปอร์มินท์ หรือส้ม เพื่อช่วยแก้โรคระบบทางเดินอาหาร
7. ราศีตุลย์ (เกิดระหว่างวันที่ 17 ต.ค. 15 พ.ย.)
โรคควรระวัง : โรคปวดเอว ปวดหลัง โรคในช่องท้อง คิดมาก
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ตะไคร้หอม ผสมกับโรสแมรี่ ซีดาร์วู๊ด เพื่อลดอาการปวดเอว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และใช้เจอราเนียม ผสมกับกำยาน ส้ม หรือเบอร์กาม็อท เพื่อการผ่อนคลาย
8. ราศีพิจิก (เกิดระหว่างวันที่ 16 พ.ย. 15 ธ.ค.)
โรคควรระวัง : โรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์ โรคผิวหนัง เครียด
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้ลาเวนเดอร์หรือโรสแมรี่ ผสมกับ แฟรงคินเซ้นส์ ยูคาลิปตัส หรือทีทรี เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์และโรคผิวหนัง ใช้กำยาน ผสมกับส้ม เบอร์กาม็อท เพื่อคลายเครียด
9. ราศีธนู (เกิดระหว่างวันที่ 16 ธ.ค. 14 ม.ค.)
โรคควรระวัง : โรคกระดูก กล้ามเนื้อขา เส้นเลือดขอด ภูมิแพ้
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้กำยาน เจอราเนียมผสมกับโรสแมรี่ เพื่อคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต แก้เส้นเลือดขอด ใช้ทีทรี ผสมกับลาเวนเดอร์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
10. ราศีมังกร (เกิดระหว่างวันที่ 15 ม.ค. 12 ก.พ.)
โรคควรระวัง : โรคกระดูกและข้อ โรคภูมิแพ้
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้กำยาน ผสมกับยูคาลิปตัส เพื่อแก้อาการปวดเมื่อย ใช้ทีทรี ผสมกับโรสแมรี่ ลาเวนเดอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ฆ่าเชื้อ
11. ราศีกุมภ์ (เกิดระหว่างวันที่ 13 ก.พ. 14 มี.ค.)
โรคควรระวัง : โรคเกี่ยวกับระบบเลือด ตะคริว กระเพาะ ลำไส้
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้แฝกหอม ผสมกับเจอราเนียม กำยาน เพื่อแก้ปัญหาระบบหมุนเวียนของโลหิต และใช้ขิง เปปเปอร์มินท์ ผสมกับลาเวนเดอร์ แพ็ทชูลี่ เพื่อแก้โรคกระเพาะ
12. ราศีมีน (เกิดระหว่างวันที่ 15 มี.ค. 12 เม.ย.)
โรคควรระวัง : โรคระบบทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง
น้ำมันหอมระเหยที่แนะนำ : ใช้โรสแมรี่ ผสมกับเปปเปอร์มินท์ แพ็ทชูลี่ หรือขิง เพื่อแก้ปัญหาโรคระบบทางเดินอาหาร ใช้ลาเวนเดอร์ ผสมกับทีทรี แฟรงคินเซ้นส์ เพื่อแก้โรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อ
ขอบคุณ : http://www.banhonethai.com
*** กลิ่นเลือกกลิ่นน้ำมันหอมระเหยกับธาตุเกิด
ธาตุดิน (ได้แก่ ราศี มังกร พฤษภ กันย์)
ลักษณะนิสัย: เป็นคนมีความหนักแน่น อดทน ไม่ชอบการโยกย้าย ชอบที่จะลงมือทำมากกว่าที่จะ
ออกคำสั่ง คนธาตุนี้มักจะเกิดความเครียดได้มากกว่าธาตุอื่นๆ กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ
กลิ่นแนว ผ่อนคลาย อย่าง
Lavender,
Basil และ
กระดังงา
จะช่วยให้นอนหลับง่าย และคลายเครียดได้ดี
ธาตุน้ำ (ได้แก่ ราศี มีน กรกฏ พิจิก)
ลักษณะนิสัย: คนธาตุน้ำเป็นคนคร่องแคล่วว่องไว ทำอะไรเร็ว และคิดเร็ว บางครั้งอ่อนไหว บางทีดูเหมือนว่าเป็นคนโลเลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คนธาตุนี้มีจินตนาการสูง คิดนู่น คิดนี่อยู่เรื่อยๆ คนธาตุนี้มีหลากหลายอารมณ์ และค่อนข้างซับซ้อน เหมือนน้ำ ที่อาจดูนิ่งๆ แต่มีความอ่อนไหว คนธาตุนี้มีความเป็นศิลปินสูง
กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ กลิ่นที่ช่วยให้เกิดสมดุลย์ทางอารมณ์ อย่าง
Bergamot,
Sandalwood ช่วยให้เกิดสมาธิ
Rosemary
ถ้าต้องการผ่อนคลายในอารมณ์ความ เครียดก็สามารถใช้ Lavender ร่วมด้วยได้
ธาตุลม (ได้แก่ ราศี กุมภ์ เมถุน ตุลย์)
ลักษณะนิสัย: มีนิสัยร่าเริง เข้ากับคนง่าย รักการผจญภัย ชอบทำเรื่องท้าทาย นิสัยที่เด่นคือ ชอบสื่อสารกับผู้คน สนใจสารทุกข์สุขดิบของผู้คนรอบข้าง มันเป็นที่รักของคนรอบข้าง แต่บางครั้งก็เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย
กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ กลิ่นเย็นๆ ที่ทำให้สดชื่น อย่าง
Menthol
Lavender ผ่อนคลายอารมณ์
Sandalwood ช่วยให้จิตใจสงบ และ
Chamomile ช่วยให้ อารมณ์ผ่อนคลาย หลับสบาย และบรรเทาความว้าวุ่น
ธาตุไฟ (ได้แก่ ราศี เมษ สิงห์ ธนู)
ลักษณะนิสัย: เป็นคนใจร้อน บางครั้งดูหงุดหงิด ชอบการแข่งขัน ชอบกิจกรรมโลดโผน วู่วาม มีความเป็นผู้นำสูง มีความทะเยอทะยานและรักความก้าวหน้า
กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ กลิ่นของดอกไม้ เช่น
ดอกมะลิ
กระดังงา
Lavender
ให้ความรู้สึกสดชื่นผ่อนคลาย เย็นสบาย ช่วยให้ใจเย็นขึ้นได้
ขอบคุณ http://horoscope.sanook.com/playfortune/playfortune_01529.php
ลักษณะนิสัย: เป็นคนมีความหนักแน่น อดทน ไม่ชอบการโยกย้าย ชอบที่จะลงมือทำมากกว่าที่จะ
ออกคำสั่ง คนธาตุนี้มักจะเกิดความเครียดได้มากกว่าธาตุอื่นๆ กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ
กลิ่นแนว ผ่อนคลาย อย่าง
Lavender,
Basil และ
กระดังงา
จะช่วยให้นอนหลับง่าย และคลายเครียดได้ดี
ธาตุน้ำ (ได้แก่ ราศี มีน กรกฏ พิจิก)
ลักษณะนิสัย: คนธาตุน้ำเป็นคนคร่องแคล่วว่องไว ทำอะไรเร็ว และคิดเร็ว บางครั้งอ่อนไหว บางทีดูเหมือนว่าเป็นคนโลเลเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คนธาตุนี้มีจินตนาการสูง คิดนู่น คิดนี่อยู่เรื่อยๆ คนธาตุนี้มีหลากหลายอารมณ์ และค่อนข้างซับซ้อน เหมือนน้ำ ที่อาจดูนิ่งๆ แต่มีความอ่อนไหว คนธาตุนี้มีความเป็นศิลปินสูง
กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ กลิ่นที่ช่วยให้เกิดสมดุลย์ทางอารมณ์ อย่าง
Bergamot,
Sandalwood ช่วยให้เกิดสมาธิ
Rosemary
ถ้าต้องการผ่อนคลายในอารมณ์ความ เครียดก็สามารถใช้ Lavender ร่วมด้วยได้
ธาตุลม (ได้แก่ ราศี กุมภ์ เมถุน ตุลย์)
ลักษณะนิสัย: มีนิสัยร่าเริง เข้ากับคนง่าย รักการผจญภัย ชอบทำเรื่องท้าทาย นิสัยที่เด่นคือ ชอบสื่อสารกับผู้คน สนใจสารทุกข์สุขดิบของผู้คนรอบข้าง มันเป็นที่รักของคนรอบข้าง แต่บางครั้งก็เป็นคนเจ้าอารมณ์ หงุดหงิดง่าย
กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ กลิ่นเย็นๆ ที่ทำให้สดชื่น อย่าง
Menthol
Lavender ผ่อนคลายอารมณ์
Sandalwood ช่วยให้จิตใจสงบ และ
Chamomile ช่วยให้ อารมณ์ผ่อนคลาย หลับสบาย และบรรเทาความว้าวุ่น
ธาตุไฟ (ได้แก่ ราศี เมษ สิงห์ ธนู)
ลักษณะนิสัย: เป็นคนใจร้อน บางครั้งดูหงุดหงิด ชอบการแข่งขัน ชอบกิจกรรมโลดโผน วู่วาม มีความเป็นผู้นำสูง มีความทะเยอทะยานและรักความก้าวหน้า
กลิ่นที่เหมาะกับคนธาตุนี้คือ กลิ่นของดอกไม้ เช่น
ดอกมะลิ
กระดังงา
Lavender
ให้ความรู้สึกสดชื่นผ่อนคลาย เย็นสบาย ช่วยให้ใจเย็นขึ้นได้
ขอบคุณ http://horoscope.sanook.com/playfortune/playfortune_01529.php
Tuesday, September 25, 2018
ธาตุเจ้าเรือนตามหลักแพทยแผนไทย
ธาตุเจ้าเรือน ตามหลักแพทย์แผนไทย
ธาตุเจ้าเรือนคืออะไรในทฤษฎีการแพทย์แผนไทย เชื่อว่า การเกิดชีวิตใหม่จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีพ่อมีแม่ที่มีลักษณะของหญิง-ชาย ครบถ้วน หมายถึง พ่อมีลักษณะของชายครบ และแม่มีลักษณะของหญิงครบ โดยให้ความหมายของชีวิตไว้ว่า ชีวิตคือขันธ์ 5 อัน ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
- รูป หมายถึง รูปร่าง ร่างกาย หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกได้อธิบายไว้ว่า รูปมีมหาภูตรูป 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และรูปที่เกิดจากมหาภูตรูป เรียกว่าอุปทายรูป ได้แก่ อากาศ ประสาททั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดรูป รส กลิ่น เสียง เป็นอาภรณ์ 4
- เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกต่างๆ ซึ่งเกิดจากประสาททั้ง 5 เป็นต้น
- สัญญา ได้แก่ ความจำต่างๆ การกำหนดรู้อาการ จำได้หมายรู้
- สังขาร หมายถึง การปรุงแต่งของจิต ความคิดที่ผูกเป็นเรื่องเป็นราว ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าสังขารคือร่างกาย เช่น มักพูดว่า “คนแก่ไม่เจียมสังขาร” หมายถึง ทำอะไรเกินกว่าร่างกายซึ่งชราจะรับได้แท้จริงสังขารเป็นความนึกคิดก่อ หรือผูกเป็นเรื่องราวนั่นเอง
- วิญญาณ คือ ความรู้แจ้งของอารมณ์เช่น วิญญาณนักต่อสู้ หมายถึง เป็นผู้มีอารมณ์บากบั่นตั้งมั่น ต้องสู้สุดใจ ผู้มีวิญญาณเป็นนักประชาธิปไตย หมายถึง การมีอารมณ์ลึกซึ้ง ชัดแจ้ง จะทำอะไรก็อยู่ในอารมณ์ของนักประชาธิปไตย มีใจตั้งมั่นในสิทธิเสรีภาพ เป็นต้น คนทั่วไปคิดว่าวิญญาณคือผี เชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ววิญญาณออกจากร่างไปเป็นผีแท้จริงแล้วเมื่อตายไปแล้วก็หมดความรู้สึก ไม่มีอารมณ์อีกแล้วนั่นเอง
จะเห็นได้ว่าชีวิตคือขันธ์ 5 ซึ่งคือร่างกายและจิตใจนั่นเอง มนุษย์ที่เกิดมาต่างก็มีชีวิตแตกต่างกันไป มีรูปร่าง
หน้าตาแตกต่างกัน มีความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึก ความรู้แจ้งทางอารมณ์หรือที่เรียกว่าวิญญาณที่แตกต่างกันไป ทาง
การแพทย์แผนปัจจุบันเชื่อว่า การที่มีความแตกต่างและความเหมือนกัน ถูกกำหนดโดยสารพันธุกรรมที่เรียกว่า “ดีเอ็น
เอ” เป็นรหัสของชีวิตที่มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดจากมารดาและบิดา เป็นลักษณะทั่วๆ ไปของมนุษย์
ทางการแพทย์แผนไทยมีความเชื่อในเรื่องธรรมชาติว่า การเกิดรูปครั้งแรกในครรภ์มารดามีขนาดเล็กมาก ขนาดเท่ากับหยดน้ำมันงาที่ติดอยู่ปลายขนจามรี หลังจากถูกสะบัด ถึง 7 ครั้ง และด้วยอิทธิพลของธาตุไฟก่อน จึงเกิดธาตุอื่น ตามมาจนครบธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ แล้วจึงเกิดเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณจนครบขันธ์ 5 เมื่อครรภ์ ครบ 5 เดือน นั่นคือชีวิตได้เกิดแล้ว และด้วยอิทธิพลธรรมชาติ ได้แก่ ความร้อน ความเย็นของภูมิอากาศตามฤดูกาล ได้ทำให้ธาตุทั้ง 4 ของแต่ละคนแตกต่างกันไปและเริ่มมีอิทธิพลแล้วในครรภ์มารดา ดังพระคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวไว้ว่า
เมื่อตั้งครรภ์ในฤดูอันใด ธาตุอันใด ให้เอาธาตุของฤดูนั้นเป็นที่ตั้งแห่งธาตุกำเนิดของกุมารกุมารีนั้นๆ เช่น
- ตั้งครรภ์ในเดือน 5, 6, 7 เป็นลักษณะแห่งไฟ
- ตั้งครรภ์ในเดือน 8, 9, 10 เป็นลักษณะแห่งลม
- ตั้งครรภ์ในเดือน 11, 12, 1 เป็นลักษณะแห่งน้ำ
- ตั้งครรภ์ในเดือน 2, 3, 4 เป็นลักษณะแห่งดิน
- ผู้ที่เกิดเดือน 5, 6, 7 จะมีธาตุลมเป็นเจ้าเรือน
- ผู้ที่เกิดเดือน 8, 9, 10 จะมีธาตุน้ำเป็นเจ้าเรือน
- ผู้ที่เกิดเดือน 11, 12, 1 จะมีธาตุดินเป็นเจ้าเรือน
- ผู้ที่เกิดเดือน 2, 3, 4 จะมีธาตุไฟเป็นเจ้าเรือน
จุดอ่อน หรือลักษณะของธาตุเสียสมดุลแตกต่างกันตามธาตุเจ้าเรือนนั้นๆ
ลักษณะของ ธาตุเจ้าเรือน เป็นอย่างไร
องค์ประกอบของธาตุที่รวมกันอยู่อย่างปกตินั้น จะมีธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งเด่น หรือมากกว่าอย่างหนึ่ง เรียกว่า เจ้า
เรือน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยแต่ละธาตุหลักทั้ง 4 จะมีลักษณะที่แสดงออกเป็นเจ้าเรือน ดังนี้
- ธาตุดินเจ้าเรือน จะมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ เสียงดังฟังชัด ข้อกระดูกแข็งแรง กระดูกใหญ่ น้ำหนักตัวมาก ล่ำสัน อวัยวะสมบูรณ์
- ธาตุน้ำเจ้าเรือน จะมีรูปร่างสมบูรณ์ อวัยวะสมบูรณ์ สมส่วน ผิวพรรณสดใสเต่งตึง ตาหวาน น้ำในตามาก ท่าทางเดินมั่นคง ผมดกดำงาม กินช้า ทำอะไรชักช้า ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดีเสียงโปร่ง มีลูกดกหรือมีความรู้สึกทางเพศดีแต่มักเฉื่อยและค่อนข้างเกียจคร้าน
- ธาตุไฟเจ้าเรือน มักขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน หนังย่น ผม ขนหนวด ค่อนข้างนิ่ม ไม่ค่อยอดทน ใจร้อน ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นปาก กลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง
- ธาตุลมเจ้าเรือน จะมีผิวหนังหยาบแห้ง รูปร่างโปร่ง ผอม ผมบาง ข้อกระดูกลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา ขี้ขลาด รักง่ายหน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่คอยหลับ ช่างพูด เสียงต่ำ ออกเสียงไม่ชัด มีลูกไม่ดก คือความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี
ที่อยู่อาศัย หรือสิ่งแวดล้อม เรียกว่า “ประเทศสมุฏฐาน” ย่อมมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพ ได้แก่
- ประเทศร้อน สถานที่ที่เป็นภูเขาสูง เนินผา มักเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ เช่น คนภาคเหนือ จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับไข้ต่างๆ
- ประเทศเย็น สถานที่ที่เป็นน้ำฝน โคลนตม มีฝนตกชุก มักเจ็บป่วยด้วยธาตุลม เช่น คนภาคกลาง จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับลมต่างๆ
- ประเทศอุ่น สถานที่ที่เป็นน้ำฝนกรวดทราย เป็นที่เก็บน้ำไม่อยู่ มักเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ เช่น คนภาคอีสาน จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับนิ่ว
- ประเทศหนาว สถานที่ที่เป็นน้ำเค็ม มีโคลนตมชื้นแฉะ ได้แก่ ชายทะเล มักเจ็บป่วยด้วยธาตุดิน เช่น ภาคใต้ จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับฝี
นำอาการที่ได้จากการบอกเล่า และตรวจพบมาประมวล จะสามารถบอกถึงสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โดยยึด
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับตัวสุขภาพ หรือตัวควบคุมธาตุทั้งสี่ ได้แก่
- ธาตุดิน มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพอยู่ 3 อย่าง คือ
– หทัยวัตถุมีที่ตั้งที่หัวใจ ควบคุมความสมบูรณ์ของหัวใจ เช่น ลักษณะ ขนาด การทำงาน การเต้น ความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจ บางตำรากล่าวว่าหทัยวัตถุเป็นที่ตั้งของจิต
– อุทริยะ หมายถึง อาหารใหม่ คืออาหารที่รับประทานเข้าไปใหม่ๆ นั่นเอง การซักประวัติการกินอาหารก่อนป่วย มีความจำเป็นมาก เพราะอาหาร คือธาตุภายนอกที่เรานำเข้าไปบำรุง หรือปรับธาตุภายใน เรื่องอาหารจึงสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นแพทย์แผนใด โรคทางแผนโบราณจึงมีเรื่องเกี่ยวกับการกินที่เรียกว่า “กินผิด” คือกินไม่ถูกกับธาตุจะเจ็บป่วย กินไม่ถูกกับโรคทำให้อาการแย่ลง ดังนั้น การแพทย์แผนไทยใช้วิธีการกินสมุนไพร อาหารสมุนไพร มาแก้ไขการเสียสมดุลนี้เป็นการลองผิดลองถูกมายาวนาน จนสรุปเป็นหลักการและเหตุผล
– กรีสัง หมายถึง อาหารเก่า คือ กากอาหารในลำไส้ใหญ่ที่จะออกมาเป็นอุจจาระนั่นเอง ลักษณะของอุจจาระเป็นตัวบ่งบอกสุขภาพ อุจจาระหยาบ ละเอียด ก้อนแข็งหรือเหลว กลิ่นอุจจาระเป็นเช่นไร เช่น กลิ่นเหมือนปลาเน่าธาตุน้ำเป็นเหตุกลิ่นเหมือนหญ้าเน่าธาตุไฟเป็นเหตุ กลิ่นเหมือนข้าวบูดธาตุลมเป็นเหตุกลิ่นเหมือนศพเน่าธาตุดินเป็นเหตุ เป็นต้น โบราณว่าไว้สุขภาพจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับกรีสะ (อุจจาระหรืออาหารเก่า) เป็นตัวควบคุม
- ธาตุน้ำ มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพอยู่ 3 อย่าง คือ
– ศอเสมหะ ควบคุมน้ำบริเวณคอขึ้นไปเกี่ยวกับเสมหะ น้ำมูกมีหรือไม่อย่างไร มีมากเวลาใด อาจหมายถึงการทำงานของต่อมต่างๆ ที่ผลิตน้ำเมือก น้ำมูกบริเวณดังกล่าว
– อุระเสมหะ ควบคุมน้ำบริเวณอกเหนือกลาง ตัวจากคอมาถึงบริเวณลิ้นปี่ เหนือสะดือ การซักถามจะต้องถามถึงการไอ เสมหะเป็นอย่างไร การหอบ การอาเจียน น้ำที่ออกมาเป็นอย่างไร การปวดท้องเกี่ยวกับน้ำย่อยในกระเพาะ อาจจะหมายถึงการทำงานของต่อมน้ำมูก เมือกในปอด หลอดลม น้ำในกระเพาะอาหาร น้ำดี น้ำย่อยในลำไส้เล็ก
– คูถเสมหะ ควบคุมน้ำช่วงล่างจากสะดือลงไป อาจเป็นน้ำมูกเมือก น้ำในลำไส้น้ำในอุจจาระ น้ำปัสสาวะ น้ำในมดลูก ช่องคลอด (ถ้าเป็นหญิง) และน้ำอสุจิ (ถ้าเป็นชาย) จึงต้องซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น การถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ ลักษณะเหลว หรือแข็ง มีน้ำมากน้อยเพียงใด ผิดปกติอย่างไร
- ธาตุลม มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพอยู่ 3 อย่าง คือ
– หทัยวาตะ ลมที่ควบคุมอารมณ์ จิตใจ การเต้นของหัวใจ ความหวั่นไหว ความกังวล
– สัตถกะวาตะ ลมที่คมเหมือนอาวุธ หมายถึง เมื่อเกิดอาการจะมีอาการฉับพลัน เจ็บปวดลึกๆ เหมือนดังอาวุธเสียบแทง จากลักษณะดังกล่าวอาการคล้ายกับภาวะขาดเลือด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรืออวัยวะใดๆ ขาดเลือดจะมีอาการเจ็บปวดรุนแรง
– สุมนาวาตะ ลมที่ควบคุมพลังที่อยู่เส้นกลางลำตัวตามแนวดิ่ง ในตำราการนวดไทยเส้นสุมนาถูกจัดเป็นเส้นสำคัญในเส้นสิบ เส้นนี้จะวิ่งกลางลำตัวจรดปลายลิ้น จึงน่าจะเป็นตัวควบคุมระบบประสาท การไหลเวียนโลหิตสมอง ไขสันหลัง ระบบอัตโนมัติต่างๆ การซักถามอาการควรถามเกี่ยวกับการทำงานของแขนขา การปวดเจ็บหลัง การชัก การกระตุก ตำราโบราณกล่าวว่าอาการลิ้นกระด้างคางแข็งเกิดจากสุมนา แสดงว่าน่าจะเกี่ยวกับสมอง ประสาท
- ธาตุไฟ มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพอยู่ 3 อย่าง คือ
– พัทธปิตตะ คือดีในฝัก บางท่านอาจสับสนว่าน้ำดีคือธาตุน้ำ เหตุใดจึงจัดเป็นไฟ ผู้เขียนเข้าใจว่าพัทธปิตตะในที่นี้ คือการควบคุมการทำงานของน้ำดีและการย่อยสลายจากการทำงานของน้ำดี ส่วนน้ำดีจัดเป็นธาตุน้ำ อาการบ่งบอกการทำงานที่ผิดปกติไป จึงน่าจะหมายถึงการปวดท้อง น้ำดีอุดตัน ภาวะการผลิตน้ำดีของตับผิดปกติ ตับอักเสบเกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง เกิดน้ำดีอักเสบเป็นนิ่ว เป็นต้น เป็นเรื่องที่ควบคุมการทำงานของธาตุน้ำเป็นอาการบ่งบอกถึงการทำงานที่ผิดปกติไป จึงน่าจะหมายถึงการปวดท้อง น้ำดีอุดตัน เป็นเรื่องที่ควบคุมการทำงานของน้ำดีในตับ และถุงน้ำดีที่เรียกว่าในฝักนั่นเอง
– อพัทธะปิตตะ ดีนอกฝัก หมายถึง การทำงานของน้ำดีในลำไส้ การย่อยอาหาร อาการคือจุกเสียด อืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ดีนอกฝักพิการ จะทำให้เหลืองทั้งตัว ดีในฝักพิการจะมีอาการคุ้มคลั่งเหมือนผีเข้า ถ่ายเป็นสีเขียว
– กำเดา องค์แห่งความร้อน เป็นตัวควบคุมความร้อนในร่างกาย น่าจะหมายถึงศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายนั่นเอง การตรวจสามารถดูที่อาการไข้ว่าตัวร้อนจัดหรือไม่เพียงใด
- ธาตุดิน ควรรับประทานอาหารรสฝาด หวาน มัน เค็ม ได้แก่ มังคุด ฝรั่งดิบ ฟักทอง เผือก ถั่วต่างๆ เงาะ น้ำนม น้ำอ้อย เกลือ ฯลฯ
- ธาตุน้ำ ควรรับประทานอาหารรสเปรี้ยว รสขม ได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ มะระ สะเดา ฯลฯ
- ธาตุลม ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย โหระพา กะเพรา ฯลฯ
- ธาตุไฟ ควรรับประทานอาหารรสขม เย็น จืด ได้แก่ ผักบุ้ง ตำลึง แตงโม บัวบก ขี้เหล็ก ฯลฯ
ขอบคุณที่มาจาก : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ขอบคุณภาพจาก : looseweightwith100dietfoods.blogspot.com
Monday, September 24, 2018
# เครื่องหอมไทยประเภทปรุงกลิ่น
เป็นวิธีการปรุงเครื่องหอมแบบไทย ๆ
ที่มีสืบต่อกันมานานตั้งแต่อดีต จนมาถึงปัจจุบันก็ยังมีอยู่
แต่จะหาได้ยากยิ่งนักที่จะเป็นการปรุงเครื่องที่ถูกวิธี
ซึ่งส่วนใหญ่เครื่องปรุงในการทำเครื่องหอมประเภทปรุงกลิ่นมักจะเป็นพืชสมุนไพร
หรือสิ่งที่มาจากธรรมชาติ เช่น ลำเจียก ดินสอพองแก่นจันทน์เทศ ขี้ผึ้ง พิมเสน ชะมดเช็ด ฯลฯ
หรือแม้แต่กระทั่งพืชสมุนไพร ผลหมากรากไม้ที่หาได้ง่ายที่ริมรั้ว เช่น ใบเตยหอม มะกรูด ดอกมะลิ
กระดังงา กุหลาบ ฯลฯ ส่วนด้านในของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตก็หาได้จากในครัวแบบไทย ๆ
ของเราเอง เช่น ขวดโหล โถกระเบื้อง ผ้าขาวบาง กระบวยตักน้ำ เตาอั้งโล่ เทียนอบ เป็นต้น
ซึ่งเครื่องหอมไทยประเภทปรุงกลิ่นที่เป็นที่นิยมและน่าสนใจในวิธีการปรุง อุปกรณ์ และวัตถุดิบ
เช่น น้ำดอกไม้สด น้ำอบไทยไม่ใช้ดอกไม้สด ผ้าชุบน้ำอบอย่างเปียก น้ำปรุง ออดิโคโลณจน์
และน้ำหอม โดยเครื่องหอมชนิดต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้นมีวิธีการปรุงที่สลับซับซ้อน
ต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นอย่างมากในทุกขั้นตอนทุก ๆ ซึ่งจะนำวิธีทำของเครื่องหอมแต่ละชนิดมาบันทึกไว้ใน post ต่อไป
ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วิทยาเขตวังไกลกังวล
http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf
# วิธีทำเครื่องหอมไทย
สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
การอบ การร่ำ และการปรุง
การอบ
หมายถึง การนำมาปรุงกลิ่นด้วยควัน หรือนำมาปรุงกลิ่นด้วยดอกไม้หอม
การอบให้มีกลิ่นหอมเพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่ง กลิ่นหอมจะซึ่งเข้าไปในของที่นำไปอบ
โดยวัตถุที่ต้องการให้มีกลิ่นนั้น อยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท จะอบด้วยเทียนอบ
หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและมีกลิ่นแรง
มักจะไม่ใช่ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเลี่ยน ๆ
หรือที่มีกลิ่นเปรี้ยว
1. การอบ ดอกไม้มี 2 ชนิด
คือ การอบน้ำ และการอบแห้ง
1) การอบน้ำ คือ การลอยดอกไม้บนน้ำ เช่น
อบน้ำสำหรับรับประทาน อบน้ำเชื่อม
อบน้ำสรง อบน้ำเพื่อจะทำน้ำอบไทย เรียกว่า “น้ำดอกไม้สด”
การอบดอกไม้บนน้ำควรปฏิบัติดังนี้
ก. ไม่ควรนำดอกไม้ใส่ลงภาชนะให้เต็ม
ควรเว้นที่ว่างไว้ เพราะกลิ่นของดอกไม้จะได้ลงถึงน้ำ
ข. ควรใช้ภาชนะที่มีลักษณะปากกว้าง ตื้น มีฝาปิด
เวลาอบใส่น้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อให้
ความหอมทั่วถึง
ค. ควรวางภาชนะให้เข้าที่เสียก่อน แล้วค่อยใส่น้ำ
เวลานำดอกไม้ลงลอย น้ำจะต้องนิ่งแล้วจึงลอยดอกไม้เบา ๆ ถ้าน้ำกระเทือน
จะทำให้เข้าดอกไม้ช้ำได้ ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นเขียว
ง. ดอกไม้ประเภทที่มีกลีบบาง เช่น ชำมะนาด
จันทน์กะพ้อ สารภี พิกุล ควรใส่จอกหรือภาชนะเล็ก ๆ ลอย
เพื่อป้องกันการเกิดกลีบดอกช้ำ
จ. ดอกไม้ที่ลอยน้ำ ควรลอยตามเวลาที่ดอกไม้บาน
ไม่ควรแช่ทิ้งไว้นานเพราะหัวน้ำหอมลงอยู่ในน้ำหอมแล้ว การอบดอกไม้บางชนิด อบได้นาน
6 – 8 ชั่วโมง เช่น มะลิ กุหลาบมอญ พิกุล ลำเจียก ชำมะนาด
ราตรี ดอกแก้ว พุทธชาด กระดังงา ดอกไม้บางชนิดลอย
ได้ ประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง
เช่น ดอกลำดวน ขจร สารภี ส่าเหล้า กรรณิการ์ แก้ปัญหาได้โดยการนำดอกไม้ใส่จอกเล็ก
ๆ ลอย ฉะนั้น การลอยดอกไม้ควรลอยเวลาค่ำ และนำขึ้นตอนเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น
ฉ. การลอยดอกไม้เพื่อให้กลิ่นหอม ควรทำการศึกษาว่า
ดอกไม้ชนิดใดบานในเวลาใด เช่น
- ดอกมีที่บานเวลาเช้ามืด จะส่งกลิ่นเวลาประมาณ 05.00
– 06.00 น. คือ ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกจำปา ดอกสายหยุด
ดอกจันทน์กระพ้อ
- ดอกไม้ที่บานในเวลาเย็น เวลาประมาณ 18.00 น. ได้แก่ ดอกลำเจียก ดอกมะลิ ดอกพุทธชาด ดอกส้ม ดอกลำดวน
- ดอกไม้ที่บานเวลาค่ำ เวลาประมาณ 19.00 น. ได้แก่ ดอกชำมะนาด ดอกขจร ดอกกรรณิการ์
ฉะนั้น ดอกไม่ที่ออกกลิ่นเวลาใด ต้องคอยอบเวลานั้น
พอหมดกลิ่นรีบเอาออกก่อนที่ดอกไม้จะช้ำ
จ.
ดอกไม้ที่จะนำมาอบถ้ามีต้น ก็เกิดใช้ในเวลาที่ต้องการได้เลย แต่ถ้าซื้อตอนเช้า
เพราะยังพรมน้ำจากจะทำให้กลิ่นหอมของดอกไม้หมดไป และดอกไม้จะช้ำ เรียกว่า
ดอกไม้สำลักน้ำ
2) การอบแห้ง
คือ การวางดอกไม้ไว้บนขนม หรือสิ่งของต่าง ๆ ควรจะใช้ภาชนะเล็ก ๆ วาง
ไว้บนของที่อยู่ในโถ มีฝาปิดสนิท
การอบแห้งควรอบตามเวลาดอกไม้บาน เมื่อถึงตอนเช้า
ควรเอาดอกไม้ออกถ้าทิ้งไว้นานอาจทำให้กลิ่นเสีย
วิธีใช้ดอกกระดังงาดอกไม้ชนิดอื่นพอเก็บก็นำมาอบได้เลย
แต่ดอกกระดังงาจะต้องนำมา
อบควันเทียนเสียก่อน บางครั้งรียกว่า “กระดังงาลนไฟ” จากหนังสือ เครื่องหอมและของ
ชำร่วย ของคุณโสภาพรรณ อมตะเดชะ
ได้กล่าวถึงวิธีการลนไฟไว้ว่า โดยใช้มือรวบปลาย
กลีบดอกแล้วนำคั่วดอกลนไฟให้ตายนึ่ง
เวลาจะปลิดกลีบดอกออกจากดอก ใช้มือขับที่
กระเปาะดอกให้กลับร่วงจะทำกลิ่นหอมแรงกว่าปลิดทีละกลีบ
แล้วฉีกแต่ละกลีบตามแนว
ยาว กลีบละ 2 – 3 เส้น
กลิ่นหอมอยู่ที่ตัวเทียน เทียนอบที่ใช้แล้ว เก็บไว้นาน
ๆ ไส้เทียนแข็ง จะต้องจุดไฟก่อนเพื่อให้
ไส้เทียนอ่อนตัว
2. การร่ำ หมายถึง การอบกลิ่นหอมหลายอย่าง
และทำโดยภาชนะเผาไฟแล้วใส่เครื่อง
หอม เพื่อให้เกิดควันที่มีกลิ่นหอม ได้แก่
กลิ่นหอมของยางไม้ กลิ่นน้ามัน กลิ่นเนื้อไม้
ฯลฯ การร่ำเครื่องหอมต้องใช้ภาชนะที่สำคัญ คือ
โถกระเบื้อง การที่จะร่ำต้องใส่ทวนไว้
3. การปรุง หมายถึง การรวมของหลาย ๆ
อย่างเข้าด้วยกัน ในกรณีการปรุงเครื่องหอม คือ
การนำแป้งพิมเสน หัวน้ำหอม ชะมดเช็ด
มาบดผสมเข้าด้วยกัน แล้วนำไปปรุงกับน้ำอบ
ไทย หรือเครื่องหอมอื่น ๆ
แต่มีข้อสังเกตตรงที่ว่าการที่จะใส่หัวน้ำหอมชะมดเช็ด จะ
ต้องบดแป้งนวล
หรือแป้งหินเสียก่อนเพื่อให้แป้งซับน้ำมันให้หมดแล้วจึงนำไปผสมหรือ
กวนในน้ำต่อไป เช่น
การทำน้ำอบไทยจะต้องอบร่ำและปรุงจึงถือได้ว่าประสบความ
สำเร็จในการทำน้ำอบไทย
ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วิทยาเขตวังไกลกังวล
http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf
# เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับการทำเครื่องหอม และการดูแลรักษา
การเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้
มีความจำเป็นมากสำหรับการทำเครื่องหอมและของชำร่วย
มีวิธีการดังนี้
การเก็บรักษาเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการทำเครื่องหอม
1.เครื่องมือการทำเครื่องหอมจะมีโถกระเบื้อง
หม้อเคลือบ โกร่ง กระบวย ก่อนใช้ควรล้างทำความสะอาดและผึ่งให้แห้ง
ขณะที่ใช้ทำน้ำอบไทยไม่ควรล้างน้ำ ควรใช้การเช็ดและผึ่งแดดให้แห้ง
หลังจากที่ใช้แล้วก่อนเก็บสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
ถ้าไม่สกปรกมาก ให้ใช้เพียงแค่ผ้าเช็ดและผึ่ง
แดดให้แดดให้แห้งแล้วนำไปเก็บใสตู้แต่ถ้าสกปรกให้ล้างน้ำสะอาดช็ดแล้วผึ่งแดดให้แห้ง
สาเหตุขณะที่ทำน้ำอบไทยไม่ให้ล้าง
เพราะถ้าล้างแล้วเช็ดให้แห้งยังมีติดอยู่จะทำให้น้ำอบไทยบูด
หลังจากที่ใช้งานเสร็จโดยบางใบใช้เฉพาะอบกลิ่นหอม ๆ
จะยังคงอยู่การนำมาใช้ครั้งต่อไปจะทำให้มีความหอมของภาชนะติดอยู่แล้วการอบครั้งต่อไปจะทำให้ใช้เวลาน้อยลง
สำหรับผ้าขาวบางหลัง
จากเลิกใช้วานแล้วซักและนำไปตากให้แห้งจึงเก็บได้
2.ตะคัน ทวน เตาอังโล่
เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้วควรนำขี้เถ่าออกให้หมดส่วนตะคันถ้าติดกำยานให้อังไฟให้ร้อนแล้วใช้ไม้ขูดออกให้สะอาดและนำไปเก็บ
3.เครื่องปรุงที่เหลือจากการนำมาใช้ เช่น แป้งหิน
แป้งร่ำ แป้งนวล ควรผึ่งแดดให้หมดกลิ่นสาบและแห้งสนิทก่อนจึงนำไปเก็บใส่ถุง
หรือนำไปอบควันเทียนเก็บไว้ในโถเพื่อให้แป้งมีกลิ่นหอมส่วนหัวน้ำหอมกลิ่นต่าง ๆ
เช่น กำยาน ชะลูด จันทน์ เทศ ให้แยกเก็บไว้เป็นส่วน ๆ ต่างหากห้ามนำมาปนกัน
ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วิทยาเขตวังไกลกังวล
http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf
Subscribe to:
Posts (Atom)