Monday, September 24, 2018

# วิธีทำเครื่องหอมไทย



สามารถทำได้ 3 วิธี คือ การอบ การร่ำ และการปรุง

การอบ หมายถึง การนำมาปรุงกลิ่นด้วยควัน หรือนำมาปรุงกลิ่นด้วยดอกไม้หอม การอบให้มีกลิ่นหอมเพียงแค่ช่วงเวลาหนึ่ง กลิ่นหอมจะซึ่งเข้าไปในของที่นำไปอบ โดยวัตถุที่ต้องการให้มีกลิ่นนั้น อยู่ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท จะอบด้วยเทียนอบ หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและมีกลิ่นแรง
มักจะไม่ใช่ดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเลี่ยน ๆ หรือที่มีกลิ่นเปรี้ยว

1. การอบ ดอกไม้มี 2 ชนิด คือ การอบน้ำ และการอบแห้ง
1) การอบน้ำ คือ การลอยดอกไม้บนน้ำ เช่น อบน้ำสำหรับรับประทาน อบน้ำเชื่อม  อบน้ำสรง อบน้ำเพื่อจะทำน้ำอบไทย เรียกว่า น้ำดอกไม้สด


การอบดอกไม้บนน้ำควรปฏิบัติดังนี้
ก. ไม่ควรนำดอกไม้ใส่ลงภาชนะให้เต็ม ควรเว้นที่ว่างไว้ เพราะกลิ่นของดอกไม้จะได้ลงถึงน้ำ
ข. ควรใช้ภาชนะที่มีลักษณะปากกว้าง ตื้น มีฝาปิด เวลาอบใส่น้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อให้
ความหอมทั่วถึง
ค. ควรวางภาชนะให้เข้าที่เสียก่อน แล้วค่อยใส่น้ำ เวลานำดอกไม้ลงลอย น้ำจะต้องนิ่งแล้วจึงลอยดอกไม้เบา ๆ ถ้าน้ำกระเทือน จะทำให้เข้าดอกไม้ช้ำได้ ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็นเขียว
ง. ดอกไม้ประเภทที่มีกลีบบาง เช่น ชำมะนาด จันทน์กะพ้อ สารภี พิกุล ควรใส่จอกหรือภาชนะเล็ก ๆ ลอย เพื่อป้องกันการเกิดกลีบดอกช้ำ
จ. ดอกไม้ที่ลอยน้ำ ควรลอยตามเวลาที่ดอกไม้บาน ไม่ควรแช่ทิ้งไว้นานเพราะหัวน้ำหอมลงอยู่ในน้ำหอมแล้ว การอบดอกไม้บางชนิด อบได้นาน 6 – 8 ชั่วโมง เช่น มะลิ กุหลาบมอญ พิกุล ลำเจียก ชำมะนาด ราตรี ดอกแก้ว พุทธชาด กระดังงา ดอกไม้บางชนิดลอย
ได้ ประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง เช่น ดอกลำดวน ขจร สารภี ส่าเหล้า กรรณิการ์ แก้ปัญหาได้โดยการนำดอกไม้ใส่จอกเล็ก ๆ ลอย ฉะนั้น การลอยดอกไม้ควรลอยเวลาค่ำ และนำขึ้นตอนเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้น

ฉ. การลอยดอกไม้เพื่อให้กลิ่นหอม ควรทำการศึกษาว่า ดอกไม้ชนิดใดบานในเวลาใด เช่น

- ดอกมีที่บานเวลาเช้ามืด จะส่งกลิ่นเวลาประมาณ 05.00 – 06.00 น. คือ ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกจำปา ดอกสายหยุด ดอกจันทน์กระพ้อ
- ดอกไม้ที่บานในเวลาเย็น เวลาประมาณ 18.00 น. ได้แก่ ดอกลำเจียก ดอกมะลิ ดอกพุทธชาด ดอกส้ม ดอกลำดวน
- ดอกไม้ที่บานเวลาค่ำ เวลาประมาณ 19.00 น. ได้แก่ ดอกชำมะนาด ดอกขจร ดอกกรรณิการ์

ฉะนั้น ดอกไม่ที่ออกกลิ่นเวลาใด ต้องคอยอบเวลานั้น พอหมดกลิ่นรีบเอาออกก่อนที่ดอกไม้จะช้ำ

 จ. ดอกไม้ที่จะนำมาอบถ้ามีต้น ก็เกิดใช้ในเวลาที่ต้องการได้เลย แต่ถ้าซื้อตอนเช้า เพราะยังพรมน้ำจากจะทำให้กลิ่นหอมของดอกไม้หมดไป และดอกไม้จะช้ำ เรียกว่า ดอกไม้สำลักน้ำ

 2) การอบแห้ง คือ การวางดอกไม้ไว้บนขนม หรือสิ่งของต่าง ๆ ควรจะใช้ภาชนะเล็ก ๆ วาง
ไว้บนของที่อยู่ในโถ มีฝาปิดสนิท การอบแห้งควรอบตามเวลาดอกไม้บาน เมื่อถึงตอนเช้า
ควรเอาดอกไม้ออกถ้าทิ้งไว้นานอาจทำให้กลิ่นเสีย

 วิธีใช้ดอกกระดังงาดอกไม้ชนิดอื่นพอเก็บก็นำมาอบได้เลย แต่ดอกกระดังงาจะต้องนำมา
อบควันเทียนเสียก่อน บางครั้งรียกว่า กระดังงาลนไฟจากหนังสือ เครื่องหอมและของ
ชำร่วย ของคุณโสภาพรรณ อมตะเดชะ ได้กล่าวถึงวิธีการลนไฟไว้ว่า โดยใช้มือรวบปลาย
กลีบดอกแล้วนำคั่วดอกลนไฟให้ตายนึ่ง เวลาจะปลิดกลีบดอกออกจากดอก ใช้มือขับที่
กระเปาะดอกให้กลับร่วงจะทำกลิ่นหอมแรงกว่าปลิดทีละกลีบ แล้วฉีกแต่ละกลีบตามแนว
ยาว กลีบละ 2 – 3 เส้น

การใช้เทียนอบ 


เทียนอบใหม่ที่ยังไม่ได้ใช้จะต้องจุดไส้เทียนให้ไหม้ถึงตัวเทียน เนื่องจาก
กลิ่นหอมอยู่ที่ตัวเทียน เทียนอบที่ใช้แล้ว เก็บไว้นาน ๆ ไส้เทียนแข็ง จะต้องจุดไฟก่อนเพื่อให้
ไส้เทียนอ่อนตัว

2. การร่ำ หมายถึง การอบกลิ่นหอมหลายอย่าง และทำโดยภาชนะเผาไฟแล้วใส่เครื่อง
หอม เพื่อให้เกิดควันที่มีกลิ่นหอม ได้แก่ กลิ่นหอมของยางไม้ กลิ่นน้ามัน กลิ่นเนื้อไม้
ฯลฯ การร่ำเครื่องหอมต้องใช้ภาชนะที่สำคัญ คือ โถกระเบื้อง การที่จะร่ำต้องใส่ทวนไว้
ตรงกลางโถ นำตะคันเผาไฟให้ร้อน แล้วนำไปวางไว้บนทวน ดังภาพ 


3. การปรุง หมายถึง การรวมของหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน ในกรณีการปรุงเครื่องหอม คือ
การนำแป้งพิมเสน หัวน้ำหอม ชะมดเช็ด มาบดผสมเข้าด้วยกัน แล้วนำไปปรุงกับน้ำอบ
ไทย หรือเครื่องหอมอื่น ๆ แต่มีข้อสังเกตตรงที่ว่าการที่จะใส่หัวน้ำหอมชะมดเช็ด จะ
ต้องบดแป้งนวล หรือแป้งหินเสียก่อนเพื่อให้แป้งซับน้ำมันให้หมดแล้วจึงนำไปผสมหรือ
กวนในน้ำต่อไป เช่น การทำน้ำอบไทยจะต้องอบร่ำและปรุงจึงถือได้ว่าประสบความ
สำเร็จในการทำน้ำอบไทย 


ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล

http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf



No comments:

Post a Comment