แหล่งที่มาของเครื่องหอม
-ของหอมจากธรรมชาติ
# จากสัตว์ สัตว์ที่ให้กลิ่นหอมซึ่งนำมาใช้ในการทำเครื่องหอมได้มีอยู่ 4 ชนิด คือ
- AMBERGRIS
- CASTOREUM
- CIVET
- MUSK
#จากพืช ได้จากดอก เปลือก เมล็ด และอื่น ๆ
- ของหอมจากสารสังเคราะห์ (AROMATIC
CHEMICAL COMPOUND)
ของหอมจากสัตว์
AMBERGRIS เป็นสัตว์วัตถุได้จากมูลของปลาวาฬพันธุ์สเปิร์ม แหล่งที่มาของAMBERGRIS เกิดจากสารซึ่งหลั่งออกมาจากปลาวาฬสเปิร์ม เป็นของเหลวที่ขับออกมาจากลำไส้ของปลาวาฬและของเหลวชนิดนี้ มีคุณสมบัติพิเศษคือเมื่ออยู่ในน้ำมันจะอ่อนนุ่ม แต่เมื่อพ้นน้ำมาอยู่ในที่ที่มีลมโกรกจะกลายเป็นของแข็งเรียก อำพันมูลปลา มีสีขาว สีดำ สีเทา และถือกันว่าอำพันปลาสีเทาเป็นอำพันปลาที่ดีที่สุดราคาแพงมาก โดยจะให้สารที่มีความหอมคือ AMBERGRIS ร่วมกับ BENZOLC ACID และสารอื่นเช่น CHOLESTEROL และ FATTY OILระเหยง่ายเมื่อถูกความร้อน ติดไฟเมื่อเผา และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวติดทนมากประโยชน์ของ AMBERGRIS ใช้สกัดทำสารตรึงกลิ่นในเครื่องหอมต่าง ๆ
CASTOREUM หรือ CASTOR เป็นสารที่หลั่งออกมาจากกะเปาะใกล้อวัยวะสืบพันธุ์ของบีเวอร์
เป็นน้ำหอมจากต่อมในไข่ดัน กลิ่นของ CASTOREUM เมื่ออยู่ในสภาพที่เข้มข้น
จะมีกลิ่นแรงไม่ชวนดม จะมีกลิ่นหอมเมื่อได้รับการเจือจาง
ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เป็นตัวทำให้หอมติดทนนานในน้ำหอมที่มีกลิ่นฉุนเช่นกลิ่น CHYPRE BOUQUETประโยชน์ของ CASTOREUM ใช้เป็นตัวตรึงกลิ่นให้หอมติดทนในน้ำหอมใช้ผสมในน้ำยา ขัดเครื่องหนัง
CIVET –ชะมดเช็ด,ชะมด เป็นน้ำมันที่ขับถ่ายจากกะเปาะของต่อมคู่ใกล้เคียงกับอวัยวะสืบพันธุ์ของชะมดทั้งเพศผู้และเพศเมีย ชะมดเช็ดมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ดีโตน
ที่เรียกว่า ZIBETONE ซึ่งเป็นสารที่สำคัญ ใช้ตรึงกลิ่นในหัวน้ำหอม ชะมดอีกอย่างหนึ่งมาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่
เรียกว่า ชะมดเชียง (MUSK) ซึ่งได้มาจากต่อมที่อยู่ใต้ท้องชะมดที่เป็นตัวผู้เท่านั้นประโยชน์ของชะมดเช็ด ใช้ผสมทำน้ำปรุง น้ำอบไทย
ใส่ในยาหอม แก้ลม หรือผสมในยาสูบจะทำให้ยาสูบมีกลิ่นดี
MUSK เป็นสิ่งขับถ่ายที่ได้จากกะเปาะข้าง ๆ
อวัยวะสืบพันธุ์ของกวางชะมดตัวผู้ MUSK มีลักษณะหนืดคล้ายน้ำผึ้ง มีสีน้ำตาลปนแดง
อยู่ในกะเปาะที่เป็นถุงหนัง เมื่อแห้งจะเป็นเกล็ด และมีสีน้ำตาลดำ ส่วนประกอบที่สำคัญคือ CHLESTROL,FAT,WAX,ALBUMIN
และสารให้กลิ่นซึ่งเป็นสารให้กลิ่นซึ่งเป็นสารพวก KETON ที่เรียกว่า MUSCONE โดยมีอยู่ประมาณ 27ประโยชน์ของ MUSK เป็นตัวตรึงกลิ่นให้หอม
ทำให้เครื่องหอมมีกลิ่นทนนาน ทำน้ำปรุงน้ำอบไทย บุหงาแห้ง ฯลฯ
ของหอมจากพืช
กลิ่นหอมที่ได้จากพืชมี 2
ลักษณะคือ
- กลิ่นหอมสกัดเป็นหัวน้ำหอม (ESSENTIAL
OIL)
- จากยางของไม้ (RESIN,GUM,EUSEDTALES)
ของหอมที่ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช จะได้จาก
1. ดอก เช่น ดอกกุหลาบ คาร์เนชั่น มะลิ อิลังอิลัง
จำปา กระดังงา จันทร์กะพ้อ พิกุล
ชำมะนาด ลำเจียก เป็นต้น
2. ใบ เช่น ใบส้ม ใบมะกรูด ใบมะนาว ใบมินท์
3. เมล็ด เช่นลูกจันทร์ พริกไทยดำ
4. เปลือกลำต้น เช่น อบเชย ชะลูด
5. ราก หรือ เหง้า
6. ทั้งลำต้นและใบ เช่น ไม้จันทน์ กฤษณา ซีดาร์
7. ยางไม้ เช่น หนาด กำยาน
ลักษณะ คุณสมบัติและประโยชน์ของพันธุ์ไม้หอม พันธุ์ไม้หอมที่นำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องของเครื่องหอม
มีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดให้ ความหอมต่างกันออกไป
ตามลักษณะคุณสมบัติพันธุ์ไม้นั้น ๆ
ของหอมจากสารสังเคราะห์
เป็นเครื่องหอมที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้นจากสารเคมี
และผสมผสานให้มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ เช่น ดอกมะลิ (JASMINE) ทำจากน้ำมันดำจากถ่านหิน
(COAL TAR) กลิ่นกุหลาบก็เช่นเดียวกัน
ทำจากน้ำมันดำจากถ่านหินและแอลกอฮอล์กับน้ำมันดอกหญ้า (CITRONELLA) กลิ่นคาร์เนชั่นทำจากน้ำมันไม้ (CLOVE)
การเปลี่ยนแปลงของน้ำหอม
หัวน้ำหอมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งกายภาพ ทางเคมี
และทางเภสัชวิทยา ทั้งนี้เนื่องจากน้ำมันหอมเป็นสารที่ไวต่อแสง อุณหภูมิอากาศ
เมื่อหัวน้ำหอมถูกแสงนานจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม กลิ่นจะเปลี่ยนไป การป้องกันไม่ให้เสื่อมสภาพ
ต้องเก็บไว้ในที่มืดหรือเก็บในขวดที่ป้องกันแสงแดดได้ดีปิดฝาให้สนิท
ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล
http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf
No comments:
Post a Comment