Monday, September 24, 2018

# กรรมวิธีในการผลิตเครื่องหอมไทย



วิธีการผลิตเครื่องหอมของไทย
การผลิตเครื่องหอมของไทยมีตำรามากมายตามคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา ผู้ที่ผลิตเครื่องหอมได้ดีจะต้องเป็นคนช่างสังเกต อาศัยความชำนาญและประสบการณ์เป็นสำคัญ

ก่อนที่จะผลิตเครื่องหอม จะต้องรู้จักถึงสิ่งที่จะนำมาใช้ในการทำเครื่องหอมเสียก่อน เพราะบางครั้งในการบอกสัดส่วนอาจมีการผิดพลาดได้ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมผลิตภัณฑ์ที่ใช้ดอกไม้ไม่ได้ตามความต้องการตามที่หนังสือ เครื่องหอมและของชำร่วย ของคุณ โสภาพรรณ อมตะเดชะ ได้ยกตัวอย่างไว้ว่า การทำน้ำอบไทยแต่ก่อนใช้น้ำฝนต้มซึ่งตามบ้านจะใช้น้ำฝนรับประทานแต่ปัจจุบันแปรเปลี่ยนไป ต้องใช้น้ำประปาแทนสิ่งนี้คือความเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมทำให้สูตรที่แจ้งไว้คลาดเคลื่อน”. ฉะนั้นจะผลิตเครื่องหอมชนิดใดจึงควรมีการทดสอบว่าใช้ได้ตามความต้องการหรือไม่ แต่ถ้ากลิ่นยังไม่ถูกใจอาจจะเพิ่มเติมส่วนผสมอื่นได้เช่นกัน ให้เป็นไปตามความเหมาะสม

การปรุง หรือการทำเครื่องหอมทุกชนิดเมื่อผสมเส็จแล้วจะต้องเขย่าหรือหมักเพื่อให้เกิดการรวมตัวเป็นกลิ่นเดียวกันเสียก่อน จึงจะนำมาดมกลิ่นเพื่อทดสอบว่าพอใจแล้วหรือยัง ดังนั้นการผสมให้เจือจางก่อนจะช่วยทำให้ประหยัดเวลาในการหมักและประหยัดของที่จะเสียไปจากการผสม

การผสมหรือปรุง นี้จำเป็นจะต้องคอยสังเกตและตรวจสอบกลิ่นทุกวันทุกครั้งที่มีการเติมกลิ่นแต่ละกลิ่นลงไปจะต้องทำการจดบันทึกสัดส่วนของการผสมและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของกลิ่นเมื่อเป็นที่พอใจในกลิ่นที่ปรุงแล้วนั้นจึงจะทำเครื่องหอมชนิดนั้นเป็นตัวอย่างแล้วนำไปทดลองใช้ เมื่อได้เป็นผลเป็นที่พึงพอใจแล้วจึงจะทำการปรุงเพื่อเพิ่มปริมาณตามความต้องการ ให้มากขึ้นต่อไป

ฉะนั้นวิชาเครื่องหอมไม่ใช่สิ่งที่เรียนรู้และเข้าใจกันอย่างง่ายนัก เพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้นอกจากจะทำความเข้าใจในวิธีการทำตามสูตรอย่างถ่องแท้แล้ว คุณสมบัติพิเศษที่จำเป็นสำหรับผู้ที่มีอาชีพนี้ คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีจมูกไวสามารถแยกกลิ่นต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด ผู้มีอาชีพดมน้ำหอมประมาณ 350 คนทั่วโลกมีอยู่ไม่เกิน 10 คนที่ถืว่าเป็นจมูกมหาราชและมีผู้ที่โดดเด่น คือ นายเบอร์นาร์ด แชนท์ ซึ่งสามารถแยกกลิ่นได้ถึง 3,000 กลิ่น ในระยะเวลา 30 ปี เขาปรุงแต่งกลิ่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3,000 กลิ่น จากหนังสือเครื่องหอมและของชำร่วย ของคุณ โสภาพรรณ อมตะเดชะ ได้อธิบายความสามารถของนายเบอร์นาร์ด แชนท์ เพิ่มเติมไว้อีกว่า เขาสามารถปรุงกลิ่นสัตว์ป่าตามธรรมชาติในแถบเอเชีย ให้กับพิพิทธภัณฑ์แห่งประวัติศาสตร์ธรรมชาติของอเมริกา เพื่อใช้สร้างบรรยากาศในห้องนิทรรศการเรื่องชีวิตสัตว์ป่าในเอเชียที่มหานครนิวยอร์ก” . ดังนั้นวิชาเครื่องหอมถือว่าเป็นวิชาแขนงหนึ่งที่เข้าใจยาก วิชานี้จะไม่สำเร็จแก่ผู้ใช้เวลาและความตั้งใจที่ไม่ถ่องแท้แต่ต้องศึกษาด้วยความจริงจรังและความพากเพียรจึงจะประสบผลสำเร็จ

โสภาพรรณ อมตะเดชะ,เครื่องหอมและของชำร่วย,(กรุงเทพฯ : ศรีสยามการพิมพ์,2536) , หน้า 26. . เรื่องเดียวกัน , หน้า 27. 

ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตวังไกลกังวล

http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf

No comments:

Post a Comment