การสกัดน้ำมันหอมได้มีวิวัฒนาการมาป็นลำดับ
ตั้งแต่การเผาไม้หอมนำน้ำมันที่ไหลซึมออกมาจากไม้
ใช้น้ำมันส่วนนี้ไปผสมกับเครื่องหอมได้ ต่อมามนุษย์เมสังเกตว่า การสกัดน้ำมันหอมไม่สามารถใช้ได้กับไม้ทุกชนิด
มีไม้บางประเภทเท่านั้นที่สามารถทำได้จึงคิดค้นวิธีใหม่โดยการหุงด้วยความร้อน วิธีนี้ก็ คือ
ใช้น้ำมันจากเมล็ดพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะกอกใส่ภาชนะแล้วตั้งขึ้นไฟ จากนั้นเอาดอกไม้หรือไม้หอมป่นจนเป็นผง
ใส่ลงไปเคี่ยว ความร้อนของน้ำมันก็จะไประเบิดต่อมน้ำมันหอมที่มีอยู่
แต่วิธีนี้ก็มีข้อจำกัดอีกเพราะดอกไม้ที่นำมาสกัดไม่สามารถใช้ได้กับดอกไม้ทุกชนิด
ถ้าเป็นกุหลาบหรือกระดังงาไม่มีปัญหา แต่ถ้าดอกมะลิหรือดอกไม้อื่นที่ไม่สู้ความร้อนกลิ่นก็จะเปลี่ยนไป
ต่อมามนุษย์ได้ใช้ความพยายามคิดค้นโดยการหีบเพื่อเอาน้ำมันหอม
ด้วยวิธีทำไม้หอมที่ไม่ใช่ไม้ยืนต้น เช่น ตะไคร้หอม
หรือไม้อื่นที่บอบบางหน่อยเข้าเครื่องหีบ แบบหีบเอาน้ำอ้อย พฤกษาชาติที่ถูกหีบก็จะคายน้ำเลี้ยงที่มีอยู่ในลำต้นมารวมกันกับน้ำมันหอม
น้ำเลี้ยงซึ่งหนักกว่าจะนอนก้นส่วนน้ำมันหอมก็จะลอยอยู่ส่วนบนของภาชนะ
วิธีสกัดดังกล่าวนี้ ได้ใช้มาเป็นมาเป็นพัน ๆ ปี
จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 10
แพทย์ชาวอาหรับชื่อ “อวิเซนนา” ได้ค้นพบวิธีสกัดน้ำมันหอมจากดอกไม้และดอกไม้ชนิดแรกที่เป็นดอกไม้ประวัติศาสตร์ที่นำมาทำการทดลอง
คือ ดอกกุหลาบ วิธีกลั่นน้ำมันหอมจากดอกไม้หอมของอวิเซนนา
ได้แพร่หลายในหมู่ชาวอาหรับต่อมาการสกัดน้ำมันหอมได้พัฒนามาเป็นลำดับจนกระทั่งปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถคิดค้นได้
มีอยู่ 5 วิธีด้วยกันดังนี้
1.วิธีสกัดโดยใช้น้ำร้อน
วิธีนี้นำเอาพืชที่มีกลิ่นหอมที่ต้องการจะสกัด ต้มกับน้ำจนน้ำร้อนเดือด
ไอน้ำจะพาน้ำหอมออกมาผ่านไอน้ำเข้าเครื่องควบแน่น ไอน้ำและไอของน้ำมันหอมจะกลายเป็นของเหลว น้ำมันที่ได้นี้ยังมีความชื้น
ละลายแทรกซึมอยู่ ต้องทำให้แห้งโดยเขย่ากับสารดูดความชื้นตั้งค้างคืนแล้วกรอง
จะได้น้ำมันหอมที่ใสสะอาดตามที่ต้องการวิธีสกัดโดยใช้น้ำข้อนี้นิยมใช้สกัดพืชที่มีราคาถูก เช่น น้ำมันตะไคร้
และน้ำมันตะไคร้หอม
2.วิธีสกัดโดยใช้ไอน้ำ
วิธีนี้ต้องมีหม้อต้มน้ำต่างหาก ส่วนพืชที่จะสกัดบรรจุไว้ในหม้อกลั่นผ่านไอน้ำร้อนจากหม้อน้ำเข้าไปยังหม้อกลั่นผ่านไอร้อน
จากหม้อน้ำไปยังหม้อกลั่น ภายใต้ความกดดัน 40 – 50
ปอนด์ต่อตารางนิ้วไอน้ำจะพาเอาน้ำมันหอมระเหยออกมาผ่านไอน้ำผสมน้ำมันหอมเข้าเครื่องควบแน่น
จะได้น้ำผสมน้ำมันหอมเมื่อใส่กรวยแล้วแยกเอาน้ำซึ่งอยู่ส่วนล่างออกเอาน้ำมันหอมไปทำให้แห้ง
โดยเขย่ากับสารดูดความชื้น
3.วิธีสกัดด้วยตัวทำละลาย
วิธีนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น 2 วิธี คือ
สกัดที่อุณหภูมิและสกัดโดยใช้ความร้อยช่วย วีสกัดที่อุณหภูมิของห้องก็คือ
เอาพืชที่มีกลิ่นหอมหรือดอกไม้หอม แช่ด้วยตัวทำละลายที่อุณหภูมิของห้องตัวทำละลายที่ใช้ได้แก่
ปิโตรเลียม อีเทอร์ อะซิโตน หรือแอททิลแอลกอฮอล์ อาจจะแช่ 29 – 48
ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับชนิดของพืช
4.วิธีสกัดโดยใช้ไขมัน
หลักการของวิธีนี้มีง่าย ๆ คือ เกลี่ยไขมันให้ทั่วหนาประมาณครึ่งเซ็นติเมตรเอาดอกไม้ที่จะสกัดมาเกลี่ยให้เต็มถาด
ถาดไม้ควรมีหลาย ๆ ใบ เพื่อเกลี่ยดอกไม้ให้เต็มทุกถาดแล้ววางซ้อนกัน ถาดใบบนต้องมีฝาปิดสนิทตั้งไว้ 24 ชั่วโมง ให้เปลี่ยนเอาดอกไม้เก่าออก เอาดอกไม้ใหม่วางเกลี่ยลงไปแทนที่
ทำดังนี้ติดต่อกันประมาณ 7 วัน จนแน่ใจว่า ไขมันได้ดูดเอากลิ่นหอมหรือน้ำมันหอมไว้ในตัวมันมากพอแล้ว
5.วิธีบีบหรืออัด
วีนี้ได้แยกน้ำมันออกจากผิวส้ม ผิวมะนาว ผิวมะกรูด เมื่อปอกเอาเปลือกส้มหรือผิวมะกรูดใส่เข้าไปในเครื่องอัดหรือบีบ
ภายใต้ความกดดันสูง ๆ จะทำให้น้ำมันปนกับน้ำไหลออกมาและกรองให้สะอาดแล้วก็นำไปใส่กรวยก็จะสามารถแยกน้ำมันหอมของผิวส้มหรือผิวมะกรูดออกจากน้ำได้
เอาไปเขย่ากับสารดูดความชื้นแล้วกรองเอาน้ำมันหอมที่สะอาด
หัวน้ำหอมบริสุทธ์เป็นของเหลวข้นออกสีน้ำตาล
แต่ละชนิดมีสีเข้มข้นจัดเมื่อนำมาผสมกับแอลกอฮอล์ซึ่งจะเป็นตัวละลายกลิ่นในขณะที่แอลกอฮอล์ระเหยไปเราเรียกว่า
น้ำหอม มีกลิ่นฟุ้งนอกจากอแลกอฮอล์แล้วหัวน้ำหอมยังสามารถผสมกับสารอื่น
ๆ ที่ระเหยได้ และอาจมีชื่อต่างกันออกไป เช่น โคโลญจน์ หรือกระดาษหอม
ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วิทยาเขตวังไกลกังวล
http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf
No comments:
Post a Comment