ความหมายของคำว่า “เครื่องหอม”
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525 :195) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “เครื่อง” หมายถึง สิ่ง สิ่งของ
สิ่งที่สำหรับประกอบกัน หรือเป็นพวกเดียวกัน ส่วนคำว่า “หอม”
หมายถึง ได้รับกลิ่นดี กลิ่นหอม “เครื่องหอม”
หมายถึง สิ่งที่นำมาประกอบกันแล้วมีกลิ่นหอม
ความหอมเป็นมนต์เสน่ห์สำหรับมนุษย์ ผู้ที่ชื่นชมใน
รูป รส กลิ่น เสียง ในชนทุกระดับชั้นต่างหาสิ่งหอมมาประทินผิวกาย
เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ตนเองและผู้ชิดใกล้ ในรูปลักษณะที่แตกต่างกันออกไปอาทิเช่น
หาดอกไม้มาแซมผม นำความหอมของไม้ยางมาปรุง อบร่ำในเสื้อผ้า อาหาร ทาผิวกาย
เครื่องหอมต่าง ๆ ของไทยมีมาแต่โบราณกาลโดยทำขึ้นมาใช้เองจากวัสดุและสมุนไพรหอมที่ปลูกในเมืองไทย
และสืบทอดต่อ ๆ มาตามคำบอกเล่า
มิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรใด ๆ
จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องหอมใน ENCYCLOPAEDIA
หลายเล่ม ไม่มีการบันทึกการสกัดน้ำหอมจากดอกไม้ว่า
เริ่มตั้งแต่เมื่อใดนอกจากจะกล่าวถึงสมัยโบราณ
มนุษย์เผาไม้หอมบางชนิดที่มียางและมีกลิ่นหอมในพิธีทางศาสนาปรากฏว่ากลิ่นที่ลอยมากับควันอันอบอวลอยู่ในบริเวณงาน
ได้สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ร่วมงานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ พวกเขายังเอาของเหลวที่ไหลซึมออกมาจากไม้ที่เผา
มาจุ่มน้ำและน้ำมันแล้วนำมาลูบถูตามร่างกายทำให้กลิ่นหอมติดตัวทนนาน ณ จุดนี้เป็นที่มาของน้ำหอมฝรั่งเศส
ตั้งชื่อเครื่องหอมผ่านควันไฟนี้ว่า PERFUME ซึ่งมาจากภาษาลาตินสองคำคือ PER แปลว่า
THROUGH หรือ ผ่าน และ FUME แปลว่า SMOKE หรือควัน
ชาวอียีปต์ได้ค้นพบเครื่องหอมนี้กว่า 3 พันปีล่วงมาแล้วในสมัยฟาโรห์ ต่อมาพวกกรีกและโรมันเรียนรู้เครื่องหอมจากอียีปต์
และในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12พวกคริสต์เตียนที่มาทำสงครามศาสนา (CRUSADERS) ได้นำเครื่องหอมจากดินแดนปาเลสไตน์ ไปยังอังกฤษและฝรั่งเศส
จากนั้นไม่นานจึงได้มีการค้าขายเครื่องเทศและเครื่องหอมกันอย่างกว้างขวาง ระหว่างตะวันออกกับยุโรป
และในศตวรรษที่ 15 น้ำหอม (PERFUME) กลายเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในยุโรป
แต่หลักฐานบางตำราอ้างว่า ในสมัยโบราณชาวจีน
ฮินดู อียิปต์ อิสราเอลอาหรับ กรีก และ โรมัน
ได้รู้จักและเรียนรู้ศิลปะของการทำเครื่องหอมมานานแล้ว แม้ในคัมภีร์ไบเบิ้ลก็ปรากฎว่ามีสูตรของการทำน้ำหอมอยู่ด้วย
เครื่องหอม ของหอม
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเครื่องสำอางทุกชนิด ยกเว้นเครื่องสำอางของผู้เป็นโรคภูมิแพ้ ผิวหนังแพ้ง่ายจำเป็นจะต้องใช้เครื่องสำอางพวก NON-ALLERGENIC ซึ่งผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษ
ที่มา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วิทยาเขตวังไกลกังวล
http://www.kkw.rmutr.ac.th/thai/thaidept/h1.pdf
No comments:
Post a Comment